x close

รองปลัดยุติธรรม ชี้ผู้ปกครองหมูป่า ระวังเข้าข่ายไม่พร้อมเลี้ยงดู-สั่งแยกเด็กออกมาได้


           รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เผยหลังสื่อต่างประเทศสัมภาษณ์ทีมหมูป่าฯ ชี้หากผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าหน้าที่มีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวได้โดยเร็วที่สุด

ผู้ปกครองหมูป่า

         วันที่ 22 กรกฎาคม 2561 นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ธวัชชัย ไทยเขียว ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับทีมหมูป่าฯ ที่มีสื่อต่างประเทศเข้าสัมภาษณ์ โดยระบุว่า ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุดได้...!!! 6 สัปดาห์แรกหลังประสบภัยร้ายแรงแบบตื่นกลัวสุดขีดมา ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โรคซึมเศร้าแบบเรื้อรังมีระยะเวลาพัฒนาประมาณ 1-2 ปี

         และที่สำคัญสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังต่อไปนี้คือ เด็กกลุ่มนี้อาจป่วยโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า "ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ" หรือ Post-traumatic Stress Disorder ซึ่งในวงการหรือสากลจะเรียกโรคนี้ว่า PTSD เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น อยู่ในเหตุการณ์วินาศกรรม จลาจล สึนามิ ดินโคลนถล่ม บ้านพัง ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ ถูกโจรปล้น พบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ถูกขังเป็นเวลานาน ฯลฯ หรือรวมถึงบางคนอาจจะไม่ได้ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง แต่อาจเห็นจากข่าวหรือได้ฟังคำบอกเล่ามาแล้วรู้สึกตื่นกลัวตามไปด้วย จนทำให้เกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา

         ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา ที่สำคัญ PTSD ภาวะเครียดหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนใจ จะส่งผลต่อความผิดปกติทางอารมณ์ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต และบางรายกลัวความมืดถึงขั้นกลัวแม้กระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน กรณีนี้ถ้าทางการแพทย์วินิจฉัยว่า เด็กมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และ PTSD แล้ว การถูกกระตุ้นจากคำถามที่ไม่เหมาะสม หรือไปกวนภาวะจิตใจของเด็ก อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 27 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้

         ขณะที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองรู้ทั้งรู้จากการบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ให้ระมัดระวัง แต่ยังกระทำ อาจถือว่าผู้ปกครองอยู่ในภาวะเข้าข่ายไม่พร้อมเลี้ยงดู และถ้าจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เห็นว่าพฤติการณ์นั้นน่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ก็ให้มีอำนาจเข้าตรวจค้นและมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็ก เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุดได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง แต่หากผู้ปกครองไม่เห็นด้วยให้มีสิทธิ์นำคดีไปสู่ศาลภายใน 120 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่งได้ตามมาตรา 46

ผู้ปกครองหมูป่า

ผู้ปกครองหมูป่า

12 ทีมหมูป่าฯ เตรียมบวช
ภาพจาก สำนักข่าว INN 

12 ทีมหมูป่าฯ เตรียมบวช
ภาพจาก สำนักข่าว INN 

12 ทีมหมูป่าฯ เตรียมบวช
ภาพจาก สำนักข่าว INN 

12 ทีมหมูป่าฯ เตรียมบวช
ภาพจาก สำนักข่าว INN 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รองปลัดยุติธรรม ชี้ผู้ปกครองหมูป่า ระวังเข้าข่ายไม่พร้อมเลี้ยงดู-สั่งแยกเด็กออกมาได้ อัปเดตล่าสุด 23 กรกฎาคม 2561 เวลา 10:45:17 37,136 อ่าน
TOP