ไขข้อสงสัย !? โคเคน ใช้ทำฟันจริงไหม หลัง บอส อยู่วิทยา ไม่โดนข้อหายาเสพติด

 

           จากกรณีข่าว คณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ออกมาระบุว่า พนักงานสอบสวนคดี บอส วรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส กระทิงแดง ชี้แจงเหตุเจอโคเคนในร่างกาย ว่าเกิดจากการทำฟัน จึงไม่แจ้งข้อหายาเสพติด ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น


คดี บอส กระทิงแดง

          หลังจากที่ข่าวดังกล่าวถูกนำเสนอออกไปนั้น มีหลายคนได้ตั้งคำถามว่า โคเคน ใช้ในทางการแพทย์จริงหรือ แล้วโคเคนชนิดไหนกันที่ถูกนำมาใช้ แล้วใช้ในปริมาณเท่าไร ซึ่งหลายคนที่เป็นทันตแพทย์ก็ถึงกับงงว่า การใช้โคเคนมาใช้ในการทำฟันนั้นมีอยู่ในตำราจริงหรือ เพราะปกติที่รักษาคนไข้ก็ไม่ได้ใช้โคเคนแล้ว


          เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 รศ. ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Weerachai Phutdhawong ระบุว่า

            "โคเคนที่ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ในงานทันตกรรมคือ Lidocaine หรือที่เรียกว่า Lignocaine หมอใช้ปริมาณน้อย ต่างจากตัวที่ตรวจพบในเลือด"


               ขณะที่ เฟซบุ๊ก ห้องทำฟันหมายเลข 10 ระบุว่า โคเคน เคยถูกนำมาใช้ในทางทันตกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1859 ซึ่งเป็นเวลา 150 ปี มาแล้ว แต่ด้วยข้อเสียของโคเคนที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น และมีฤทธิ์เสพติด จึงมีการพัฒนายาที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายโคเคน ชื่อ Procaine ขึ้นในปี ค.ศ. 1904

             ต่อมา ปี ค.ศ. 1948 มีการนำยาชาที่มีสูตรโครงสร้างต่างไปจาก Cocaine และ Procaine ได้แก่ Lidocaine และพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ และยาบางชนิดก็ไม่มีใช้ในประเทศไทย ทั้งนี้ ยาชาดังกล่าวมีสูตรโครงสร้างคนละแบบกับโคเคน รวมทั้งกระบวนการขับยาออกจากร่างกายก็ได้สารเคมีคนละกลุ่มกับโคเคน


คดี บอส กระทิงแดง

คดี บอส กระทิงแดง

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ไขข้อสงสัย !? โคเคน ใช้ทำฟันจริงไหม หลัง บอส อยู่วิทยา ไม่โดนข้อหายาเสพติด อัปเดตล่าสุด 31 กรกฎาคม 2563 เวลา 11:51:02 22,656 อ่าน
TOP
x close