x close

สมัคร แถลงนโยบาย ใช้สมานฉันท์ผ่านพ้นวิกฤต

สมัคร สุนทรเวช

          นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภาตามที่ได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ครอบคลุมแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งสร้างเสภียรภาพและความมั่นคงก้าวหน้าในการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและสร้างความสมานฉันท์ โดยได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือระยะเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในปีแรกและระยะการบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรียังระบุว่านโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะเร่งทำ คือการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ การปราบปรามยาเสพติด การสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาความยากจนโดยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การสร้างโอกาสในอาชีพ โดยเฉพาะเกษตรกรแรงงานและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและการแก้ไขปัญหาสิ่ง แวดล้อม

คำแถลงของนายกฯ มีดังนี้

          ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 29 มกราคม พุทธศักราช 2551 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2551 นั้นบัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบายดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้ ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นที่จะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทุกคน

          ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเป็นปีที่ต้องเผชิญกับปัญหาจากเศรษฐกิจโลกที่มีความ รุนแรง อย่างน้อยสองประการ คือ ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ส่ง ผลกระทบถึงตลาดเงินและเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในโลก และปัญหาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดแรงกด ดันต่อภาวะเงินเฟ้อในโลกและในประเทศไทย

          นอกจากปัญหาเฉพาะหน้าดังกล่าวแล้ว รัฐบาลยังมีภารกิจสำคัญอื่นๆ ในการวางรากฐานการเจริญเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน และส่งเสริมภาคการผลิตและบริการให้สามารถปรับตัวไปสู่การผลิตสินค้าและ บริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัญหาโครงสร้างระยะยาวของประเทศ ส่วนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สังคมไทยจะเริ่มเข้าสู่จุดเริ่มต้นของสังคมผู้สูงอายุในปี 2552 และประชากรไทยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุอยู่ในภาวะที่ต้องปรับตัวเข้าสู่ สังคมฐานความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ ในขณะที่ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ และปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและ คุณภาพชีวิตของประชาชนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในช่วง 4 ปีต่อไป รัฐบาลจะดูแลปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศ ภายใต้หลักการสำคัญสองประการ ซึ่งรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนไทยและต่างประเทศ และประชาคมโลก

          ประการแรก คือ การสร้างความสมานฉันท์ให้แก่คนไทยทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือกันในการนำพา ประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ต่าง ๆ และสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับประเทศในอนาคต การสร้างความสมานฉันท์นี้รวมถึงเรื่องที่สำคัญ คือ การแก้ไขและเยียวยาปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่แนวทางของการ อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและสามัคคีของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่ สำคัญของประเทศ

          ประการที่สอง คือ การสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายในทุกด้าน ตั้งแต่การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ การสนับสนุนการออมระยะยาว การส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม การพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้และเชื่อมโยงกับตลาดอย่างเป็นขั้นตอน จนถึงการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน การดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเพิ่มความสามารถในการใช้ประโยชน์และต่อยอดเทคโนโลยีให้เข้ากับภูมิ ปัญญาไทยเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมและสร้างรายได้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานของรัฐบาลตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ นอกจากหลักการทั้งสองประการแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญแก่บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การพัฒนาประเทศ และกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อให้อยู่ในกรอบแนวทางของการบริหารประเทศตามหลักธรรมาภิบาล รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และจะยึดเป็นแนวทางในการดำเนินงานของรัฐบาล

          ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล ดังต่อไปนี้

1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

           รัฐบาลถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคม ปราบปรามยาเสพติด สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
ฟื้นฟูให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความยากจน โดยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร แรงงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญเร่งด่วน โดยมีนโยบายที่สำคัญ คือ

          1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมาน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ และสร้างเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ โดยมุ่งถึงประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

          1.2 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทาง พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" มาดำเนินภารกิจในด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา โดยให้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อของประชาชน ตลอดทั้งอำนวยความเป็นธรรมและความยุติธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความสมานฉันท์และสันติสุขในพื้นที่โดยเร็วที่สุด

          1.3 เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยยังคงยึด หลักการ "ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษา ส่วนผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการ ยุติธรรม" ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ลดปริมาณผู้เสพยา และป้องกันมิให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับมาตรการปราบปรามและบังคับใช้ กฎหมายอย่างเป็นธรรม และใช้มาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของ ผู้มีอิทธิพลในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การค้ามนุษย์ และการเป็นเจ้ามือการพนัน เป็นต้น

          1.4 ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ ประกอบการ โดยดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต พร้อมทั้งจัดหาสินค้าราคาประหยัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มี รายได้น้อย

          1.5 เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินหมุนเวียน ในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัว เรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน

          1.6 จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (Small Medium Large: SML) ให้ ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง และพัฒนาโครงการที่จะก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน พัฒนาสินทรัพย์ชุมชน อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพ

          1.7 สานต่อโครงการธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้ แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย สร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง

          1.8 สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจ ชุมชน เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนและสร้างรายได้ ผ่านสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง ประเทศไทย

          1.9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          1.10 พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน ที่ผ่านกระบวนการจัดทำแผนฟื้นฟู อาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการสร้างรายได้และ อาชีพที่ มั่นคง

          1.11 สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยง อันเนื่องมาจาก ผลกระทบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และสร้างกลไกในการสร้างเสถียรภาพราคาของสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม

          1.12 ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และสถาบัน อาชีวศึกษา เพื่อให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ในการใช้ การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพ เครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งสร้างเครือข่ายศูนย์ฯ กับชุมชนและวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ระบบรับรองและตรวจสอบคุณภาพในขั้นต้นของสินค้าชุมชน

          1.13 สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการ "บ้านเอื้อ อาทร" "บ้านรัฐสวัสดิการ" และ "ที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นครั้งแรก" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลด้วยระบบขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวก

          1.14 เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่ง มวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง และรถไฟก้างปลาเชื่อมโยงจังหวัดที่ยังไม่มีรถไฟขนส่งผู้โดยสารและขนส่ง สินค้า และการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานสากล เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

          1.15 ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน โดยเร่งรัดโครงการส่ง เสริมการใช้พลังงานทดแทนจากก๊าซธรรมชาติและผลผลิตทางการเกษตร เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล รวมทั้งเร่งรัดมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาระการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ

          1.16 ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ ไทย โดยประกาศให้ปี 2551
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สมัคร แถลงนโยบาย ใช้สมานฉันท์ผ่านพ้นวิกฤต โพสต์เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 00:00:00 16,933 อ่าน
TOP