x close

รมว.แรงงาน เปิดเวทีชี้แจงการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ รพ.ประกันสังคม

             "สุชาติ" รมว.แรงงาน เปิดเวทีประชุมชี้แจงการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และการตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ให้กับ รพ.ประกันสังคม ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
รพ.ประกันสังคม

             เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรุงเทพฯ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน "โครงการประชุมชี้แจงการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และการตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ ของสถานพยาบาลประกันสังคมทั้งภาครัฐบาลและเอกชน" โดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ผู้บริหารสถานพยาบาล และสื่อมวลชน ให้การต้อนรับ
รพ.ประกันสังคม

รพ.ประกันสังคม

             นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ไปสู่เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้กับผู้ประกันตนมีสุขภาพที่ดี โดยใช้หลักการ "ป้องกัน ดีกว่าแก้ไข" รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการทางการแพทย์เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับบริการที่ดีมีมาตรฐาน เพื่อให้แรงงานได้มีหลักประกันที่ดี เหมาะสมในการดำรงชีวิต เพราะหากผู้ประกันตนมีสุขภาวะที่ดี ย่อมเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และเศรษฐกิจของประเทศ

             ซึ่งกระทรวงแรงงาน มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการจัดการและพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อดูแลด้านการรักษาของผู้ประกันตน ให้ได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ โดยมุ่งหวังที่จะให้บริการทางการแพทย์มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ (Governance Excellence) ซึ่งประกอบไปด้วยระบบข้อมูลด้านสารสนเทศด้านสุขภาพ ความมั่งคง ด้านยาและเวชภัณฑ์ และการคุ้มครองผู้บริโภค

             สำหรับการจัดงาน "โครงการประชุมชี้แจงการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และการตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ ของสถานพยาบาลประกันสังคมทั้งภาครัฐบาล และเอกชน" ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงให้สถานพยาบาลในระบบประกันสังคม ภาครัฐ จำนวน 164 แห่ง และภาคเอกชน จำนวน 81 แห่ง พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกันซักซ้อมทำความเข้าใจแนวทางการตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการทางการแพทย์ (Medical Audit) มาดำเนินการให้สอดคล้องกับการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการทางการแพทย์อย่างมีคุณภาพ ถูกต้อง และเป็นไปตามความจำเป็นทางด้านการแพทย์ที่ผู้ประกันตนต้องได้รับ อีกทั้งคุ้มค่ามีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานประกันสังคม

             ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีการชี้แจงให้สถานพยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะกรณีการจัดส่งข้อมูลเวชระเบียบเพื่อใช้ในการตรวจสอบ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในการพิจารณาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน เมื่อผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน สามารถไปเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้ โดยสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ทั้งหมด ซึ่งผู้ประกันตนไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

             อย่างไรก็ดี ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ ได้กำหนดให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มให้แก่สถานพยาบาลนอกเหนือจากอัตราเหมาจ่าย ดังนี้

1. ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับสถานพยาบาลที่ต้องรับภาระกรณีโรคที่มีภาระเสี่ยง 26 โรค และค่าบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยทุกรายโดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในอัตรา 453/คน/ปี

2. ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับสถานพยาบาลที่ต้องรับภาระกรณีโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในอัตรา 746/คน/ปี

3. ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับสถานพยาบาลตามสิทธิที่ให้บริการทางการแพทย์กรณีผู้ป่วยในที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงเกินปกติที่มีค่าใช้จ่ายเกินกว่า 1 ล้านบาท
4. ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ กรณีผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

5. มีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้ประกันตน และมีการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิงรุกในสถานประกอบการ

6. เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ให้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 3 สายพันธุ์ หรือ 4 สายพันธุ์ 1 ครั้ง/คน/ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ซึ่งมีสถานพยาบาลที่เป็นเครือข่ายของสำนักงานประกันสังคมให้บริการฉีดวัคซีน รพ. ของรัฐ 164 แห่ง รพ. เอกชน 81 แห่ง และมีผู้ประกันตนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว จำนวน 131,797 คน
7. สถานพยาบาลจัดให้มีการดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตนโดยเชิญชวนสถานพยาบาลที่เป็นเครือข่ายประกันสังคมทุกแห่ง ดำเนินการจัดจุดบริการพิเศษ ให้แก่ผู้ประกันตน "ประกันสังคม Smile Corner" เพื่อเป็นจุดรับรองพิเศษแก่ผู้ประกันตนที่มาใช้บริการ เช่น มีน้ำดื่ม เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ที่นั่งพักระหว่างรอรับบริการ
รพ.ประกันสังคม

             นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ บูธแสดงนิทรรศการดำเนินงานของสถานพยาบาลตามโครงการสถานพยาบาลในดวงใจ บูธนิทรรศการจากหน่วยงานและภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของสถานพยาบาล และนิทรรศการให้ความรู้เผยแพร่งานประกันสังคมให้กับผู้เข้ารับการประชุมฯ อีกด้วย

#SSONEWS2020 #ประกันสังคม
 

รพ.ประกันสังคม

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รมว.แรงงาน เปิดเวทีชี้แจงการจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ รพ.ประกันสังคม อัปเดตล่าสุด 27 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15:55:46 1,587 อ่าน
TOP