น้องเติมยิ้มกลับมาแล้วจ้า ! วันนี้จะพาพี่ ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับหลักการตลาดแบบ SMART Marketing ที่จะช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สร้างความสุข เพิ่มรายได้ คืนรอยยิ้มให้กับคนไทย
และแล้ว “นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม เดอะซีรีส์” ก็เดินทางมาถึงตอนที่ 3 หลังจากเริ่มต้นพาไปทัวร์นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม คืนรอยยิ้มสู่ท้องถิ่น ฟื้นเศรษฐกิจให้ชุมชน รู้จักที่มาที่ไปของโครงการกันอย่างสนุกสนาน และในตอนที่ 2 น้องเติมยิ้มก็พาไปเที่ยวกันต่อกันที่ฟาร์มการเกษตรสุดทันสมัย ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีแบบ SMART Farming (น้องเติมยิ้มตะลุย SMART Farming เพลิดเพลินไปกับเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตรสุดทันสมัย)
มาถึงในตอนที่ 3 นี้ น้องเติมยิ้มคนดีคนเดิม จะขอพาพี่ ๆ ออกเดินทางอีกครั้งไปยังชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย เรียนรู้เรื่องการตลาดแบบ SMART Marketing ของโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. ที่เข้าไปยกระดับสินค้าและการท่องเที่ยวที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านให้มีเอกลักษณ์ เปลี่ยนของบ้านให้กลายเป็นของแบรนด์ สามารถแข่งขันในตลาดได้ด้วยเทคโนโลยี เพิ่มช่องทางการประกอบอาชีพ เติมเต็มความสุข สร้างรายได้ ชาวบ้านในชุมชนกลับมามีรอยยิ้มกันอีกครั้ง หลังจากที่โดนวิกฤตโควิด 19 กลืนกินรอยยิ้มไปนาน ว่าแต่จะมีวิธีการอย่างไรนั้น ตามน้องเติมยิ้มไปดูพร้อม ๆ กันเลย
จากโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท.
ก่อนจะไปพูดถึงหลักการตลาด SMART Marketing กัน น้องเติมยิ้มขอย้อนความหลังไปยังจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้มารู้จักกันก่อน
จากปัญหาโควิด 19 ที่ยาวนาน ทำให้การท่องเที่ยวชะงัก และส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายสินค้าชุมชนในท้องถิ่นต่าง ๆ พี่ป้าน้าอาต่างได้รับความเดือดร้อน หลายหน่วยงานจึงเร่งให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ จนเกิดเป็นโครงการดี ๆ เพื่อสังคม มาช่วยคลายทุกข์และกระตุ้นให้เกิดการสร้างรายได้เพื่อนำมาเจือจุนในครัวเรือนและเศรษฐกิจให้คงอยู่ต่อไปได้ หนึ่งในนั้นก็คือ “โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท.” ที่มีเป้าหมายหลักในการคืนรอยยิ้มให้กับผู้คน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้นในระยะยาว เพราะถ้าชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พื้นที่เล็ก ๆ หลายจุดรวมกันก็จะทำให้ประเทศไทยกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง
โดยที่กลุ่ม ปตท. ได้ส่งทีมงานที่มีความรู้และได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทาง ลงพื้นที่ไปหาผลิตภัณฑ์ชุมชนและบริการต่าง ๆ นำมาปรับและพัฒนาให้มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน น่าสนใจ น่าดึงดูด และตรงกับความต้องการของตลาด มีการนำเอาเทคโนโลยีสื่อโซเชียลต่าง ๆ มาใช้ประชาสัมพันธ์ สร้างช่องทางการตลาดออนไลน์ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น
รวมถึงการยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยเข้าไปสร้างความรู้ด้านการท่องเที่ยว ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน และยังคงความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นของตัวเองเอาไว้ ก่อนจะนำไปทำเป็นแผนการท่องเที่ยวในแพลตฟอร์มออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปรู้จักและสนใจ สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และในที่สุดก็จะทำให้ชุมชนท้องถิ่นได้กลับมามีรอยยิ้มอีกครั้ง โดยรูปแบบ SMART Marketing ของโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้มมี ดังนี้
1. Platform : เพิ่มช่องทางการตลาด
2. Product : การพัฒนาด้านสินค้าและการท่องเที่ยว
3. Profit : การบริหารจัดการผลตอบแทนและกำไร
การวางแผนธุรกิจเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของสินค้าและบริการในชุมชน และสร้างโอกาสทางการแข่งขัน หรือจุดเด่นที่ดึงดูดให้มีการซื้อขาย รวมถึงการจัดทำข้อมูลบัญชีรายได้เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคต
1. น้ำพริกเผาสับปะรดตราดสีทอง บ้านห้วยแร้ง จ.ตราด
2. การท่องเที่ยวชุมชน ตำบลลำสินธุ์ จังหวัดพัทลุง
นอกจากนี้ ทางโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. ยังนำหลัก SMART Marketing ไปพัฒนาสินค้ามากกว่า 250 สินค้าทุกภาคทั่วประเทศ เช่น ผ้าทอลายขิด ผ้าทอมือพื้นเมืองขึ้นชื่อของจังหวัดอำนาจเจริญ น้ำมะดันจากจังหวัดนครนายก และผ้าทอมือซาวหลวงจากจังหวัดน่าน รวมถึงการท่องเที่ยวชุมชนในอีกหลายจังหวัดด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)