โซเชียลแห่แชร์ เส้นสุดหยึยในตัวหมึก มันคืออะไร บางคนบอกเป็นพยาธิ งานนี้ อาจารย์เจษฎ์ ขอให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จริง ๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่
ภาพจาก TikTok @tung_122912
เป็นเมนูยอดฮิตในโซเชียลที่ใคร ๆ ต่างก็อยากลิ้มลองสำหรับ "หมึกชอต" ที่เป็นหมึกตัวเล็ก ๆ ตัวเป็น ๆ จิ้มอยู่ในแก้วชอตที่มีน้ำจิ้มซีฟู้ด ถือเป็นเมนูแหวกแนวที่กำลังมาแรง หลายคนก็ออกมาเตือนเรื่องความสะอาด แนะนำให้กินสุก ๆ เพราะเจ้าหมึกอาจจะมีแบคทีเรียปนเปื้อน
อ่านข่าว : ปลาหมึกชอต เมนูไวรัลกินสด ๆ คนแห่สงสาร เผยแล้ว...ก่อนตายหมึกเจ็บปวดไหม ?!
ภาพจาก TikTok @tung_122912
เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคลิปดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ว่า ไอ้เจ้าเส้น ๆ ที่ดุกดิก ๆ อยู่นั้น แท้จริงแล้วมันคืออวัยวะสืบพันธุ์ของหมึกตัวผู้ ที่เรียกว่า สเปิร์มมาโตฟอร์ spermatophore (หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ฝักสเปิร์ม) นั่นเอง
"ให้นึกถึงเวลาที่เรากิน "ไข่ปลาหมึกทอด" ที่เป็นถุงเป็นก้อนขาว ๆ นั้น จะมีทั้งที่เป็นถุงรังไข่ (ovary) ของหมึกตัวเมียและที่เป็นถุงสเปิร์ม (อัณฑะ) ของหมึกตัวผู้ ถ้าเราเอาถุงอัณฑะมาผ่าแยกออก จะเห็นเหมือนท่อยาว ๆ สีขาวจำนวนมาก ซึ่งก็คือ สเปิร์มมาโตฟอร์ เรียงอยู่ข้างในนั้น"
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์