5 เรื่องที่คนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาน้ำมัน

เผยเบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ในราคาน้ำมัน ซึ่งหลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่ ความจริงเป็นยังไงกันแน่ ไปหาคำตอบกัน

ราคาน้ำมัน

"น้ำมัน" เป็นอีกหนึ่งพลังงานสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล เอกชน และประชาชนทั่วไป เมื่อราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงจึงส่งผลกระทบกับคนไทยทั้งประเทศ รวมถึงมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนสูง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หลายคนคิดเห็นไม่ตรงกัน และเกิดความเข้าใจผิดอยู่อย่างประเด็นต่อไปนี้

1. ไทยผลิตน้ำมันเองได้แต่ทำไมยังต้องนำเข้า

แม้ประเทศไทยจะมีแหล่งผลิตน้ำมันดิบได้เอง แต่ปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้นั้นสวนทางกับความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยเฉพาะหลังจากช่วงที่สถานการณ์โควิค-19 เริ่มคลี่คลาย การใช้น้ำมันก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคขนส่ง เพื่อตอบรับกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดิบมาจากต่างประเทศเพื่อมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปให้เพียงพอกับความต้องการใช้นั่นเอง โดยข้อมูลจาก กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ระบุว่า ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2565 ของคนไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 77.28 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ในเวลาช่วงเดียวกันถึง 17.5%

2. ราคาน้ำมันไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านจริงหรือ ?

ราคาน้ำมัน

จริง ๆ แล้วราคาขายปลีกน้ำมันนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างราคาน้ำมันของแต่ละประเทศ ซึ่งในประเทศไทยนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน คือ ต้นทุนเนื้อน้ำมันจากโรงกลั่น ภาษีและกองทุน และค่าการตลาด รวมถึงนโยบายที่รัฐบาลกำหนด หากเปรียบเทียบกับประเทศใกล้เคียงแล้วก็จะเห็นว่าราคาน้ำมันไทยไม่ได้แตกต่างจากเพื่อนบ้านมากนัก โดยเฉพาะในอาเซียนด้วยกันเอง

ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันอาเซียน

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันอาเซียน

หมายเหตุ : ราคาน้ำมันเฉลี่ยในอาเซียน ข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565

สำหรับบางประเทศที่มีราคาน้ำมันถูกกว่าไทย อย่างมาเลเซียกับบรูไน เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศนี้เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมัน และไม่มีการเก็บค่าภาษีและกองทุนน้ำมัน รวมทั้งภาครัฐก็มีการอุดหนุนราคาขายปลีกนั่นเอง

3. ราคาน้ำมันไทยผันผวนสูงเพราะส่วนต่างกำไรเยอะ

หากพูดถึงเรื่องของกำไรที่ทางบริษัทผู้ค้าน้ำมันจะได้รับ หลายคนอาจจะคิดว่าได้เยอะ แต่เมื่อเจาะรายละเอียดลงไปในส่วนของค่าการตลาดแล้ว บริษัทก็จะได้รับโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.50-2 บาทต่อลิตร แต่ก็ยังไม่ใช่กำไรสุทธิเสียทีเดียว เพราะรายได้จากตรงนี้จะถูกนำไปใช้เป็นค่าดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ค่าเก็บรักษา ค่าขนส่ง และยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ ด้วย

4. ทำไมรัฐบาลไทยถึงกำหนดราคาน้ำมันเองไม่ได้

น้ำมันดิบ

เพราะราคาน้ำมันที่เราเห็นอยู่ทุกวันนั้นจำเป็นจะต้องอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดกลางในการค้าน้ำมันของเอเชีย เพราะเราจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดิบมาจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปหลากหลายชนิด และเพื่อรักษาดุลทางการค้าเอาไว้ด้วย เพราะหากไทยกำหนดราคาน้ำมันเองที่สูงกว่าตลาดกลาง จะทำให้มีผู้ค้าสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคานำเข้าที่ต่ำกับราคาขายในประเทศที่สูง ในขณะเดียวกันหากกำหนดราคาต่ำกว่าต่างประเทศอาจจะส่งผลให้เกิดการส่งออกน้ำมันมากขึ้น และทำให้น้ำมันภายในประเทศไม่เพียงพอกับการใช้งาน

5. ทำไมราคาน้ำมันในประเทศถึงแพงกว่าส่งออก

เนื่องจากน้ำมันสำเร็จรูปที่ถูกส่งออกไปยังต่างประเทศนั้นไม่มีการคิดภาษีและค่ากองทุนเช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่น ๆ แต่คิดแค่ราคาเนื้อน้ำมัน เลยทำให้ราคาถูกกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนในประเทศปลายทางก็ต้องซื้อน้ำมันในราคารวมภาษีเช่นเดียวกับไทยนั่นเอง

แต่ถึงแม้ในช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันมีความผันผวนสูงเช่นนี้ ทางภาครัฐและเอกชนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ต่างก็มีนโยบายและแผนสำรองเพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก็มีส่วนในการช่วยดูแลพลังงานในประเทศไม่ให้ขาดแคลน สร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางพลังงานของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือสังคมผ่านโครงการต่าง ๆ ในช่วงที่เกิดวิกฤตต่าง ๆ ทั้งระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อีกด้วย

คราวนี้ก็หายสงสัยกันแล้วใช่ไหมล่ะว่าทำไมไทยต้องนำเข้าน้ำมัน และการที่ราคามีความผันผวนสูงก็มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ซึ่งแน่นอนว่าได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเราจะก้าวผ่านสถานการณ์ราคาน้ำมันผันผวนสูงแบบนี้ไปได้จากความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน และประชาชน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
5 เรื่องที่คนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาน้ำมัน อัปเดตล่าสุด 21 มิถุนายน 2565 เวลา 08:59:12 5,173 อ่าน
TOP