กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศระหว่างวันที่ 23-28 มิถุนายน 2565 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง

วันที่ 22 มิถุนายน 2565 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 23-28 มิถุนายน 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง
วันที่ 26-28 มิถุนายน 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ด้านรับมรสุมของบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น
ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 22-25 มิถุนายน 2565 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 22-25 มิถุนายน 2565 กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง
ภาคกลาง
- มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 22-24 มิถุนายน 2565 กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง
ภาคเหนือ
- วันที่ 22-25 มิถุนายน 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง
- วันที่ 26-28 มิถุนายน 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- วันที่ 22-25 มิถุนายน 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง
- วันที่ 26-28 มิถุนายน 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่
ภาคตะวันออก
- วันที่ 22-25 มิถุนายน 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง
- วันที่ 26-28 มิถุนายน 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
- มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
- มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา