ตำรวจแถลงจับกุมคดีชาวต่างชาติในไทย รวบ 2 คนจีนมีหมายแดง เผยเคสจับหนุ่มไต้หวัน จอดเฟอร์รารี่ ราคา 24 ล้านในห้างทั้งที่ถูกระงับใช้ สืบพบที่แท้หัวหน้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Immigration Bureau
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เดลินิวส์ รายงานว่า ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) แถลงผลการจับระดมกวาดล้างอาชญากรรมระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2565 ก่อนการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย - แปซิฟิก (APEC 2022) โดยสามารถจับกุมได้หลายคดี ประกอบด้วยกลุ่มต่างด้าว หรือเป็นบุคคลอยู่ในราชอาณาจักรไทยเกินกำหนด อนุญาต 785 ราย หลบหนีเข้าเมือง 1,249 ราย โดยในจำนวนนี้มีคดีสำคัญ รวม 3 คดี โดย 2 คดีเป็นหมายจับของอินเตอร์โพล
หนึ่งในคดีที่สังคมได้รับทราบไปแล้ว คือกรณี นายเซา เซียนโป นายทุนจีน สวมบัตรประชาชน ซึ่งเช่าอาคารเป็นที่ตั้งของสมาคมเกี่ยวกับการค้าแห่งหนึ่งย่านสุทธิสาร ตรวจค้นพบเครื่องแบบทหารที่มีเข็มกลัดชื่อของนายเซา และยังมีรถคล้ายกับรถของสถานทูต รวมทั้งมีรถตำรวจนำขบวนอีก 1 คัน ขยายผลค้นบ้านพัก เลขที่ 99 หมู่ 9 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พบโลโก้สมาคมติดอยู่หน้าบ้าน โดยด้านในมีช่องลับในการขนของ
อ่านข่าว : บุกค้นคฤหาสน์นายทุนจีน หน้าบ้านโชว์โลโก้สมาคม มีหัวรถไฟฟ้าอวด-อุโมงค์ลับขนของหนี
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ดาวแปดแฉก
นอกจากนี้ สตม. ยังแถลงถึงคดีที่ร่วมกับตำรวจจีนจับกุมผู้ต้องหาตามหมายอินเตอร์โพล (RED NOTICE) สัญชาติจีน จำนวน 2 ราย ได้แก่
1. นายหลี่ อายุ 27 ปี ซึ่งมีหมายจับของจีน และมีหมายอินเตอร์โพล ซึ่งได้หลบหนีมาอยู่ในไทย ในข้อหาในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนผ่านแอปพลิเคชั่นหลอกลงทุน จนมีผู้เสียหายกว่า 400,000 ราย ความเสียหายกว่า 50 ล้านบาท โดยจับกุมได้ในย่านสุทธิสาร จึงเพิกถอนการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร และผลักดันออกนอกราชอาณาจักร
2. นายฮู อายุ 40 ปี มีหมายจับของจีน และมีหมายอินเตอร์โพลแล้วได้หลบหนีมาอยู่ในไทย โดยมีข้อหาครอบครองสิ่งของต้องห้าม และปลอมเอกสาร โดยจับกุมได้ที่บริเวณย่านสนามบินสุวรรณภูมิ จึงเพิกถอนการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร และ ผลักดันออกนอกราชอาณาจักร
ภาพจาก สำนักข่าวไทย
อีกหนึ่งคดีที่น่าสนใจ คือกรณี สตม. จับกุมนายจาง สัญชาติไต้หวัน ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นหัวหน้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวไต้หวัน ที่ทำงานในประเทศฟิลิปปินส์ โดยเจ้าหน้าที่ตรวจพบรถยนต์เฟอร์รารี่ สีแดง ทะเบียน กต 488 กทม. มูลค่า 24 ล้านบาท จอดในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เมื่อเข้าตรวจสอบพบว่ารถยนต์คันดังกล่าวถูกระงับใช้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว จึงรอเจ้าของรถมายืนยันตัวบุคคล
ต่อมา นายจาง เข้ามายืนยันว่าเป็นเจ้าของรถ พร้อมแสดงหนังสือเดินทางประเทศกัมพูชา เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อ 30 ตุลาคม 2565 เมื่อนำข้อมูลไปตรวจสอบผ่านระบบ Biometric พบว่า หนึ่งในนั้นคือ นายโด ชาวไต้หวัน ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ส่วนอีกเล่มคือ นายฟู่หวัง ชาวไต้หวัน ซึ่งเป็นบุคคลต้องคดีอยู่ในไต้หวันและไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งต่อมาทางการไต้หวันยืนยันว่าบุคคลนี้คือ นายจาง หัวหน้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายใหญ่ของฟิลิปปินส์ โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการขยายผลเส้นทางการเงินและตรวจสอบทรัพย์สินของนายจางทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อนำเนินการอายัดตามคำร้องขอของทางไต้หวันต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย, เดลินิวส์
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Immigration Bureau
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เดลินิวส์ รายงานว่า ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) แถลงผลการจับระดมกวาดล้างอาชญากรรมระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2565 ก่อนการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย - แปซิฟิก (APEC 2022) โดยสามารถจับกุมได้หลายคดี ประกอบด้วยกลุ่มต่างด้าว หรือเป็นบุคคลอยู่ในราชอาณาจักรไทยเกินกำหนด อนุญาต 785 ราย หลบหนีเข้าเมือง 1,249 ราย โดยในจำนวนนี้มีคดีสำคัญ รวม 3 คดี โดย 2 คดีเป็นหมายจับของอินเตอร์โพล
หนึ่งในคดีที่สังคมได้รับทราบไปแล้ว คือกรณี นายเซา เซียนโป นายทุนจีน สวมบัตรประชาชน ซึ่งเช่าอาคารเป็นที่ตั้งของสมาคมเกี่ยวกับการค้าแห่งหนึ่งย่านสุทธิสาร ตรวจค้นพบเครื่องแบบทหารที่มีเข็มกลัดชื่อของนายเซา และยังมีรถคล้ายกับรถของสถานทูต รวมทั้งมีรถตำรวจนำขบวนอีก 1 คัน ขยายผลค้นบ้านพัก เลขที่ 99 หมู่ 9 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พบโลโก้สมาคมติดอยู่หน้าบ้าน โดยด้านในมีช่องลับในการขนของ
อ่านข่าว : บุกค้นคฤหาสน์นายทุนจีน หน้าบ้านโชว์โลโก้สมาคม มีหัวรถไฟฟ้าอวด-อุโมงค์ลับขนของหนี
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ดาวแปดแฉก
นอกจากนี้ สตม. ยังแถลงถึงคดีที่ร่วมกับตำรวจจีนจับกุมผู้ต้องหาตามหมายอินเตอร์โพล (RED NOTICE) สัญชาติจีน จำนวน 2 ราย ได้แก่
1. นายหลี่ อายุ 27 ปี ซึ่งมีหมายจับของจีน และมีหมายอินเตอร์โพล ซึ่งได้หลบหนีมาอยู่ในไทย ในข้อหาในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนผ่านแอปพลิเคชั่นหลอกลงทุน จนมีผู้เสียหายกว่า 400,000 ราย ความเสียหายกว่า 50 ล้านบาท โดยจับกุมได้ในย่านสุทธิสาร จึงเพิกถอนการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร และผลักดันออกนอกราชอาณาจักร
2. นายฮู อายุ 40 ปี มีหมายจับของจีน และมีหมายอินเตอร์โพลแล้วได้หลบหนีมาอยู่ในไทย โดยมีข้อหาครอบครองสิ่งของต้องห้าม และปลอมเอกสาร โดยจับกุมได้ที่บริเวณย่านสนามบินสุวรรณภูมิ จึงเพิกถอนการอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร และ ผลักดันออกนอกราชอาณาจักร
ภาพจาก สำนักข่าวไทย
อีกหนึ่งคดีที่น่าสนใจ คือกรณี สตม. จับกุมนายจาง สัญชาติไต้หวัน ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นหัวหน้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวไต้หวัน ที่ทำงานในประเทศฟิลิปปินส์ โดยเจ้าหน้าที่ตรวจพบรถยนต์เฟอร์รารี่ สีแดง ทะเบียน กต 488 กทม. มูลค่า 24 ล้านบาท จอดในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เมื่อเข้าตรวจสอบพบว่ารถยนต์คันดังกล่าวถูกระงับใช้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว จึงรอเจ้าของรถมายืนยันตัวบุคคล
ต่อมา นายจาง เข้ามายืนยันว่าเป็นเจ้าของรถ พร้อมแสดงหนังสือเดินทางประเทศกัมพูชา เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อ 30 ตุลาคม 2565 เมื่อนำข้อมูลไปตรวจสอบผ่านระบบ Biometric พบว่า หนึ่งในนั้นคือ นายโด ชาวไต้หวัน ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ส่วนอีกเล่มคือ นายฟู่หวัง ชาวไต้หวัน ซึ่งเป็นบุคคลต้องคดีอยู่ในไต้หวันและไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งต่อมาทางการไต้หวันยืนยันว่าบุคคลนี้คือ นายจาง หัวหน้าแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายใหญ่ของฟิลิปปินส์ โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการขยายผลเส้นทางการเงินและตรวจสอบทรัพย์สินของนายจางทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อนำเนินการอายัดตามคำร้องขอของทางไต้หวันต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย, เดลินิวส์