รัฐสภามีมติ 395 ต่อ 312 เสียง เสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โหวตนายกรัฐมนตรีซ้ำไม่ได้ เพราะเป็นการเสนอญัตติซ้ำ ปิดโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรี
ภาพจาก TPchannel
วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 บรรยากาศการประชุมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระสำคัญพิจารณาเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ครั้งที่ 2 โดยวันนี้นายสุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะ 8 พรรครวมจัดตั้งรัฐบาลได้เสนอชื่อ นายพิธา ให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 นั้น
โดยตั้งแต่เริ่มประชุมในช่วงเช้าที่ผ่านมา สมาชิกมีความเห็นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่าย 8 พรรคร่วม เห็นควรให้โหวตเลือกนายกฯ รอบ 2 โดยสามารถเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีได้
ส่วนอีกฝ่ายคือพรรคร่วมรัฐบาลเดิม และสมาชิกวุฒิสภาบางส่วน
ยืนยันว่า การเสนอโหวต พิธา เป็นนายกฯ รอบ 2 จะกระทำไม่ได้
เนื่องจากเสี่ยงผิดข้อบังคับการประชุมสภาที่ 41 เป็นการเสนอญัตติซ้ำ
ซึ่งการเสนอชื่อนายพิธาเป็นนายกฯ เป็นญัตติที่ถูกตีตกไปแล้ว
ตั้งแต่การประชุมเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ภาพจาก TPchannel
เสนอซ้ำไม่ได้ !? เป็นพิธา ไม่ได้เป็นนายกฯ
จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. นายวันมูหะมัดนอร์ ได้เปิดให้มีการลงมติว่า การเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นญัตติที่ต้องห้ามเสนอชื่อซ้ำ ตามข้อบังคับที่ 41 หรือไม่ โดยสมาชิกลงมติเห็นด้วย 395 เสียง ไม่เห็นด้วย 312 เสียง งดออกเสียง 8 คน ไม่ลงคะแนน 1 คน ทำให้เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้ในสมัยประชุมนี้ เนื่องจากเป็นการเสนอญัตติซ้ำ ก่อนจะสั่งปิดการประชุมในเวลา 17.10 น.
ปิยบุตร ชี้ ผลครั้งนี้ กระทบครั้งหน้าด้วย !
ทั้งนี้ ในโลกออนไลน์มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า กรณีนี้ไม่ควรจะต้องลงมติด้วยซ้ำ เพราะประธานสภา สามารถใช้อำนาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่ต้น เพื่อยืนยันว่า การเสนอชื่อนายกฯ ไม่ใช่ญัตติ และสามารถโหวตนายกฯ รอบ 2 ได้เลย แต่เมื่อเปิดให้มีการถกเถียงกัน และลงมติ กลับเป็นการปิดโอกาสของ พิธา ในการเป็นนายกฯ ในที่สุด หนึ่งในนั้นคือความเห็นจาก รศ. ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ดังนี้
"ผลจากการประชุมรัฐสภาวันนี้ คงได้เห็นความสำคัญของตำแหน่งประธานรัฐสภาในช่วงเวลาที่มาตรา 272 ยังคงอยู่กันแล้ว
ผลการลงมติวันนี้ ไม่เพียงกระทบต่อการเลือกพิธาในรอบที่ 2 แต่ยังกระทบไปถึงการลงมติครั้งหน้าในการเสนอชื่อแคนดิเดตจาก พท ด้วย
ต่อไปนี้ สว.และ พันธมิตรสามพรรค "ภจท/พปชร/ภจท" มีอำนาจต่อรองกับ พท ว่า หากครั้งหน้า เสนอชื่อแคนดิเดตจากพรรค พท มาโดยที่ยังยึด "8 พรรค" และมี กก อยู่ พวกเขาก็จะไม่ลงคะแนนให้แคนดิเดตจาก พท ทำให้ พท และพันธมิตร "8 พรรค" อาจไม่กล้าเสี่ยงในการแบก กก ไว้อีกต่อไป เพราะ หากเสนอแล้วไม่ผ่าน ก็อาจเป็นญัตติซ้ำ หรือจะเปลี่ยนเป็นคนอื่นจาก พท อีก หากพวกเขารวมหัวกันคว่ำอีก ก็จะกลายเป็นญัตติซ้ำไปเรื่อย ๆ จนแคนดิเดตหมดสต๊อก
หากเป็นเช่นนั้น "ประตู" ของ "ภจท/พปชร/รทสช" ก็เปิดกว้างขึ้น
หากปดิพัทธ์ เป็นประธานรัฐสภา วันนี้ ผมมั่นใจว่า เขาจะกล้าใช้อำนาจประธานยืนยันว่า การเสนอชื่อนายกฯ ไม่ใช่ ญัตติ หรือต่อให้ลากไปเป็นญัตติซ้ำ แต่ก็มีข้อยกเว้นในข้อ 41 ตอนท้ายว่า "เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป" ทำให้เสนอซ้ำได้"
ภาพจาก ทวิตเตอร์ @Piyabutr_FWP
เพื่อไทย ยืนยันจุดยืนอีกครั้ง โหวตพิธา จนนาทีสุดท้าย
ขณะที่ทาง พรรคเพื่อไทย ได้เคลื่อนไหวแสดงจุดยืนหลังการประชุมสภาครั้งล่าสุดว่า "วันนี้ (19 ก.ค.) ในการลงมติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 151 สส.พรรคเพื่อไทยทั้ง 141 คนได้ลงมติเห็นด้วยให้รัฐสภาเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เข้ารับการลงมติเป็นนายกฯ อีกครั้ง ยืนยันจุดยืนพรรคเพื่อไทย" และ "พรรคเพื่อไทยยืนยันชัดเจนตลอดมา 141 เสียง โหวตให้ 'พิธา' จนนาทีสุดท้าย"
ภาพจาก TPchannel
วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 บรรยากาศการประชุมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระสำคัญพิจารณาเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ครั้งที่ 2 โดยวันนี้นายสุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะ 8 พรรครวมจัดตั้งรัฐบาลได้เสนอชื่อ นายพิธา ให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 นั้น
โดยตั้งแต่เริ่มประชุมในช่วงเช้าที่ผ่านมา สมาชิกมีความเห็นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่าย 8 พรรคร่วม เห็นควรให้โหวตเลือกนายกฯ รอบ 2 โดยสามารถเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีได้
ภาพจาก TPchannel
เสนอซ้ำไม่ได้ !? เป็นพิธา ไม่ได้เป็นนายกฯ
จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. นายวันมูหะมัดนอร์ ได้เปิดให้มีการลงมติว่า การเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นญัตติที่ต้องห้ามเสนอชื่อซ้ำ ตามข้อบังคับที่ 41 หรือไม่ โดยสมาชิกลงมติเห็นด้วย 395 เสียง ไม่เห็นด้วย 312 เสียง งดออกเสียง 8 คน ไม่ลงคะแนน 1 คน ทำให้เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธาซ้ำได้ในสมัยประชุมนี้ เนื่องจากเป็นการเสนอญัตติซ้ำ ก่อนจะสั่งปิดการประชุมในเวลา 17.10 น.
ปิยบุตร ชี้ ผลครั้งนี้ กระทบครั้งหน้าด้วย !
ทั้งนี้ ในโลกออนไลน์มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า กรณีนี้ไม่ควรจะต้องลงมติด้วยซ้ำ เพราะประธานสภา สามารถใช้อำนาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่ต้น เพื่อยืนยันว่า การเสนอชื่อนายกฯ ไม่ใช่ญัตติ และสามารถโหวตนายกฯ รอบ 2 ได้เลย แต่เมื่อเปิดให้มีการถกเถียงกัน และลงมติ กลับเป็นการปิดโอกาสของ พิธา ในการเป็นนายกฯ ในที่สุด หนึ่งในนั้นคือความเห็นจาก รศ. ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ดังนี้
"ผลจากการประชุมรัฐสภาวันนี้ คงได้เห็นความสำคัญของตำแหน่งประธานรัฐสภาในช่วงเวลาที่มาตรา 272 ยังคงอยู่กันแล้ว
ผลการลงมติวันนี้ ไม่เพียงกระทบต่อการเลือกพิธาในรอบที่ 2 แต่ยังกระทบไปถึงการลงมติครั้งหน้าในการเสนอชื่อแคนดิเดตจาก พท ด้วย
ต่อไปนี้ สว.และ พันธมิตรสามพรรค "ภจท/พปชร/ภจท" มีอำนาจต่อรองกับ พท ว่า หากครั้งหน้า เสนอชื่อแคนดิเดตจากพรรค พท มาโดยที่ยังยึด "8 พรรค" และมี กก อยู่ พวกเขาก็จะไม่ลงคะแนนให้แคนดิเดตจาก พท ทำให้ พท และพันธมิตร "8 พรรค" อาจไม่กล้าเสี่ยงในการแบก กก ไว้อีกต่อไป เพราะ หากเสนอแล้วไม่ผ่าน ก็อาจเป็นญัตติซ้ำ หรือจะเปลี่ยนเป็นคนอื่นจาก พท อีก หากพวกเขารวมหัวกันคว่ำอีก ก็จะกลายเป็นญัตติซ้ำไปเรื่อย ๆ จนแคนดิเดตหมดสต๊อก
หากเป็นเช่นนั้น "ประตู" ของ "ภจท/พปชร/รทสช" ก็เปิดกว้างขึ้น
หากปดิพัทธ์ เป็นประธานรัฐสภา วันนี้ ผมมั่นใจว่า เขาจะกล้าใช้อำนาจประธานยืนยันว่า การเสนอชื่อนายกฯ ไม่ใช่ ญัตติ หรือต่อให้ลากไปเป็นญัตติซ้ำ แต่ก็มีข้อยกเว้นในข้อ 41 ตอนท้ายว่า "เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป" ทำให้เสนอซ้ำได้"
ภาพจาก ทวิตเตอร์ @Piyabutr_FWP
เพื่อไทย ยืนยันจุดยืนอีกครั้ง โหวตพิธา จนนาทีสุดท้าย
ขณะที่ทาง พรรคเพื่อไทย ได้เคลื่อนไหวแสดงจุดยืนหลังการประชุมสภาครั้งล่าสุดว่า "วันนี้ (19 ก.ค.) ในการลงมติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 151 สส.พรรคเพื่อไทยทั้ง 141 คนได้ลงมติเห็นด้วยให้รัฐสภาเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เข้ารับการลงมติเป็นนายกฯ อีกครั้ง ยืนยันจุดยืนพรรคเพื่อไทย" และ "พรรคเพื่อไทยยืนยันชัดเจนตลอดมา 141 เสียง โหวตให้ 'พิธา' จนนาทีสุดท้าย"