x close

น้ำท่วมหาดใหญ่ วิกฤตหนัก ถนนทุกสายถูกตัดขาด

 



น้ำท่วมสงขลา

หน้าโรงแรมโนโวเทลระดับน้ำสุงเกือบ 3 เมตร




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก thealami.com
 

          สถานการน้ำท่วมที่จังหวัดสงขลา โดยขณะนี้มีน้ำท่วมแล้วในพื้นที่อย่างน้อย 10 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา จากพื้นที่ 16 อำเภอ โดยภาพรวมทั้ง 10 อำเภอ ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553

          นายอมรเศรษฐ์ สุวรรณมาศ นายอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น ผ่านทาง เอ็มบีแชนแนล ถึงกรณีการเข้าดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ได้รับความเสียหาย จากพายุพัดถล่ม และเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ในหลายอำเภอของ จังหวัดสงขลา ว่า ขณะนี้ประชาชนในพื้นที่ ต่างออกมาเก็บกวาดเศษขยะ และชำระล้าง ทำความสะอาดหน้าบ้านของตน โดยทางเทศบาลได้นำถังขยะไปวางไว้หน้าบ้านประชาชนทุกหลัง เพื่อความสะดวก ในการทิ้งขยะ ซึ่งสิ่งที่พบมากที่สุด คือ เศษไม้ โต๊ะ เก้าอี้ โดยขณะนี้ ประชาชนสามารถใช้น้ำประปาได้ปกติแล้ว จึงทำให้การเช็ดล้างเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น 

          ขณะที่ทางเทศบาลเอง ได้เพิ่มเที่ยวจัดเก็บขยะตลอดเวลา เพื่อถ่ายเทขยะที่มีเป็นจำนวนมาก ภายในชุมชน ให้ลดน้อยลง  


สถานการณ์น้ำท่วม วันที่ 7 พฤศจิกายน 2553

          อย่างไรก็ตาม น้ำจากอำเภอรอบนอก เริ่มไหลหลากเข้าท่วมใจกลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาแล้ว  โดยน้ำจากคลองอู่ตะเภา เทือกเขาคอหงส์ และจากอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ชั้นใน ซึ่งเป็นย่านธุรกิจของอำเภอหาดใหญ่แล้ว พ่อค้าแม่ค้า ต่างเร่งขนของไปไว้บนที่สูง โดยเฉพาะที่ชุมชนจันทร์วิโรจน์ ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เนื่องจากทางเข้าหมู่บ้านถูกน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร และไหลเชี่ยว ชาวบ้านต้องใช้เชือกยึดกับตัวเรือไม่ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ



น้ำท่วมสงขลา



          ขณะที่ถนนทุกสาย ที่มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองหาดใหญ่ ถูกน้ำท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านได้ และขณะนี้ยังมีฝนตกหนักลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำขยายวงกว้างและเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

          อย่างไรก็ตาม มีรายงานล่าสุดว่า มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บริเวณหน้าตลาดกิมหยง เนื่องจาก ถูกไฟฟ้าชอร์ต


          ด้านนายแพทย์สุรชัย ล้ำเลิศกิตติกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ เปิดเผย สถานการณ์น้ำท่วมใน โรงพยาบาลหาดใหญ่ ว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในโรงพยาบาลนั้น ท่วมสูงเหนือหัวเข่าแล้ว ขณะที่รอบนอกโรงพยาบาล น้ำได้ท่วมสูงถึงหน้าอกแล้ว ซึ่งระดับน้ำนั้น ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไหลช้าลง เนื่องจากฝนได้หยุดตกไปแล้ว ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ป่วยในโรงพยาบาลนั้น มีจำนวน 559 คน โดยเจ้าหน้าที่ได้ขนย้ายจากชั้นล่างไปยังชั้น 5 ของโรงพยาบาลเป็นที่เรียบร้อนยแล้ว ทั้งนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด ในขณะนี้ คือ ปริมาณน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเกรงว่าปริมาณน้ำจะท่วมเครื่องปั่นไฟของโรงพยาบาลที่มีอยู่ จำนวน 3 ตัว ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยนั้น มีผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องหายใจ อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากเกิดเหตุฉุกเฉิน อาจได้รับอันตรายได้ ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่เองได้ตั้งเครื่องสูบน้ำไว้ บริเวณเครื่องปั่นไฟ เพื่อระบายน้ำแล้ว 

          ด้าน นายไพร พัฒโน นายกเทศบาลนครหาดใหญ่ กล่าวว่า ได้ประกาศให้อพยพประชาชน ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมแล้ว เพื่อความไม่ประมาท และให้ขนย้ายรถสิ่งของขึ้นที่สูง และให้จัดหาข้าวสาร อาหารแห้ง ไว้ให้พร้อม เพราะระดับน้ำนอกเขตเทศบาล สูงกว่าเขตเทศบาล ซึ่งปีนี้ระดับน้ำหนักกว่าปี 2543 ทั้งอ่างเก็บน้ำสะเดา และทุกอ่างก็เต็มแล้ว เพราะปีนี้น้ำมากกว่าในรอบร้อยปี

          อย่างไรก็ตาม นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ จ.สงขลา ได้กล่าวว่า ขณะนี้ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ เนื่องจากตอนนี้ในเขตเทศบาลน้ำท่วมเข้าขั้นวิกฤต รถเคลื่อนไม่ได้ เรือก็ออกยาก เมื่ออกไปแล้ว ไม่สามารถกลับมาได้ เพราะกระแสน้ำแรง ทั้งนี้ยังมีประชาชนที่ติดอยู่ตามหลังคาบ้าน บ้านพักรถไฟ ที่ยังคงรอการช่วยเหลือต่อไป       




น้ำท่วมสงขลา

น้ำท่วมสงขลา




คลิปน้ำท่วมหาดใหญ่ บริเวณหน้าห้าง lee gardens เวลาเที่ยงคืน : เครดิตโดย @Igoyz



 

เบอร์ติดต่อสอบถามสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ - จังหวัดสงขลา

          - สายตรง นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ศาลากลางจังหวัดสงขลา ถ.ราชดำเนิน อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทรศัพท์ 0-7432-3874, 0-7431-3126 โทรสาร(FAX) 0-743-13126

          - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา 418 ม.6 ถ.สายสนามบิน ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ 90110 โทรศัพท์ 0-7425-1160-3 โทรสาร(FAX) 0-7425-1166

          - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา อาคารศาลาประชาคม ถ.ราชดำเนิน อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา 90000 โทรศัพท์ 0-7431-6380-2 โทรสาร(FAX) 0-7431-6382

          - องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 0-7430-3100

          - เทศบาลนครหาดใหญ่ สายด่วนกุญชร 1559

          - เทศบาลเมืองคอหงส์ 0-7428-0004

          - เทศบาลเมืองคลองแห 0-7458-0888 สายด่วน 1132

          - อ.เบตง จ.ยะลาเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว ออกช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง โทรศัพท์ 0-7323-0478

          - ศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ โทร. 0-7420-0000, 0-7420-0007 หรือสายด่วน 1559

          - นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี ผช.คณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ สงขลานครินทร์ 0-8696-91017

          - นพ. เกียรติศักดิ์ ราชบรีรักษ์ ผช ผอ รพหาดใหญ๋ 0-8189-79164
 


อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ขอความช่วยเหลือ

          - ศูนย์วิทยุกู้ภัยมิตรภาพสามัคคีท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง 074-350955

          - ศูนย์นเรนทร สงขลา 1669

สถานีวิทยุที่รายงานสถานการณ์น้ำท่วม

          - สถานีวิทยุ มอ. เอฟเอ็ม 88.0 ฟังออนไลน์ http://www.psuradio88.com/

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา เอฟเอ็ม 90.50 โทรศัพท์ 0-7433-3220-1 โทรสาร 0-7433-3555 ฟังออนไลน์ region6.prd.go.th


เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย


          - ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784

          - ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องการความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วม โทร.1555 และ 0 2248 5115 ตลอด 24 ชั่วโมง

          - ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย จ.นครราชสีมา โทร 044-342-652 ถึง 4 และ 044-342-570 ถึง 7

          - ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง

          - สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690

          - สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830

          - กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 นครราชสีมา โทร.044214334-5 หรือ CallCenter1129 

          - สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200, 037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24
 

การเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วม 

          1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น

          2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง แก๊ชสำหรับหุงต้ม ยารักษาโรค ไฟฉาย  เทียน ไม้ขีดไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม 

          3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)

          4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง

          5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน
 
          6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ

          7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม

          8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

          9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด

          10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด

          11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน

          12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที

          13. เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่ม และชำระร่างกาย 

          14. เตรียมถุงดำเล็ก - ใหญ่ ไว้ทิ้งขยะและปลดทุกข์ 

          15. เตรียมอุปกรณ์สำหรับขอความช่วยเหลือ เช่น นกหวีด ชูชีพ 

          16. หากน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดแผ่นดินทรุดตัวได้ แนะนำให้อยู่ห่างตึกหรืออาคารสูง ๆ




 



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
  

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
น้ำท่วมหาดใหญ่ วิกฤตหนัก ถนนทุกสายถูกตัดขาด อัปเดตล่าสุด 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10:34:40 16,809 อ่าน
TOP