x close

แนะ นักเรียนยากจนอย่าคิดสั้น สอบติดมหาลัยมีหนทาง


         สื่อข่าวรายงานวันนี้ (18 พ.ค.) กรณี นางสาวสุชชญา แก้วสมชาติ อายุ 18 ปี ผูกคอตาย หลังสอบแอดมิชชั่นติดมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง แต่ครอบครัวยากจนไม่มีเงินส่งเรียน ว่า ศพของนางสาวสุขชญา ถูกตั้งตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดยวด ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความโศกเศร้า

         นางรุ่งสาง แก้วสมชาติ อายุ 45 ปี มารดาของผู้ตาย กล่าวว่า ลูกสาวดีใจมากที่สอบเข้าคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะทางบ้านมีรายได้น้อย ไม่สามารถหาเงิน 25,000 บาท มาลงทะเบียนให้ได้ ที่ลูกสาวก็เข้าใจและทำใจได้ แต่ในวันเกิดเหตุไม่มีใครอยู่บ้าน เพราะต้องไปทำงานรับจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ในต่างจังหวัดจึงไม่รู้ว่า ลูกสาวเกิดน้อยเนื้อต่ำใจอย่างไร จนทำให้คิดสั้นผูกคอตาย ทั้งๆ ที่เป็นคนเข้มแข็ง

         ด้านนายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดทราบแต่ข่าวตามสื่อมวลชนเท่านั้น ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำลังตรวจสอบว่า การเสียชีวิตมีสาเหตุตามที่เป็นข่าวจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สกอ. ได้เตรียมการรองรับปัญหากรณีที่เด็กนักเรียนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ แต่มีฐานะยากจน เพราะกลัวจะมีปัญหาลักษณะนี้ ซ้ำอีก

         เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวต่อว่า ต้นเดือน พ.ค.ผ่านมา สกอ. ได้ทำหนังสือเวียนถึงทุกมหาวิทยาลัย ขอ ให้มีการผ่อนผัน หรือ ผ่อนปรน ให้กับนักศึกษาฐานะยากจน ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือ หาเงินมาลงทะเบียนเรียนไม่ทัน อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้วเชื่อว่า ทางมหาวิทยาลัยไม่ได้ใจไม้ไส้ระกำกับเด็กที่สอบได้ เพราะถือว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดูแลเด็กอยู่แล้ว 

         "ขอแนะนำให้มาแสดงตัวเพื่อทางมหาวิทยาลัยจะหาทางช่วยเหลือ อย่าคิดสั้น ให้ไปติดต่อที่สำนักกิจการนิสิตนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย ที่จะให้คำแนะนำ ทั้งในเรื่องการขอผ่อนผัน ผ่อนชำระ ค่าใช้จ่าย หรือ คอยช่วยดูแลและให้คำ แนะนำ การขอทุน หรือ การกู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ที่สามารถกู้เรียนในสาขาที่ขาดแคลนได้กว่า 20,000 คน หรือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษ (กยศ.) ที่ให้กู้ในทุกสาขาวิชา หรือ ช่วยหางานในมหาวิทยาลัยให้ทำได้" เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าว 

         นายสุเมธ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สกอ. ยังมีสำนักงานประสานส่งเสริมการพัฒนานิสิต นักศึกษา (สพน.) ที่จะคอยดูแลเรื่องการจัดสรรทุนให้กับนักศึกษา โดยเป็นรูปแบบของทุนให้เปล่าที่ สพน. ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนเป็นประจำทุกปี โดยสามารถติดต่อขอรับทุนได้โดยตรง หรือ ผ่านสำนักกิจการนักศึกษาของทุกมหาวิทยาลัยได้ โดยผู้ขอรับทุนจะต้องมีผลการเรียนดีแต่ยากจน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- เครียด! นร.เอ็นติดศิลปากร ไม่มีเงินเรียนผูกคอตาย
- สลด! ประกาศยกลูกให้คนอื่น ติดหมอแต่ไม่มีเงินส่งเสีย
- ฆ่าตัวตาย หยุดได้ด้วยความอบอุ่น และรับฟัง
- โครงการป้องกันผู้มีภาวะซึมเศร้า
- โครงการช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
- สายด่วนสุขภาพจิต 1667


ข้อมูลและภาพประกอบจาก

 

 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
แนะ นักเรียนยากจนอย่าคิดสั้น สอบติดมหาลัยมีหนทาง โพสต์เมื่อ 19 พฤษภาคม 2551 เวลา 08:26:52 3,277 อ่าน
TOP