x close

สกู๊ปพิเศษ กระปุกดอทคอม พาเจาะลึก ตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้

Exclusive : สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้

          เป็นกระแสฮือฮาในโลกโซเชียลกันยกใหญ่ หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดตัวตู้โดยสารนอนปรับอากาศรุ่นใหม่จำนวน 115 คัน จากประเทศจีน ไปเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

          ก็แหม จะไม่ให้พ่อยก แม่ยก ส่งเสียงเกรียวกราวกันได้อย่างไรล่ะครับ นี่มันเป็นการซื้อรถไฟตู้นอนแบบใหม่ถอดด้ามครั้งแรกในรอบ 20 ปีของการรถไฟฯ เลยนะ

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!
          ตู้รถไฟชุดนี้จึงเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบความปลอดภัยพิเศษที่รถไฟไทยไม่เคยมีมาก่อน ชนิดที่หลายคนต้องร้อง

“เฮ้ย นี่มันรถไฟไทยจริงหรือเปล่า”

          แต่ก็นั่นแหละ เสียงลือเสียงเล่าอ้างไหนเลยจะเท่าตาตัวเองเห็นได้

          ประจวบเหมาะกับกระปุกดอทคอมได้รับเชิญจากฝ่ายพีอาร์ของการรถไฟฯ ให้ร่วมเดินทางไปกับขบวนรถไฟพิเศษเพื่อทดสอบความพร้อมก่อนให้บริการจริงในเส้นทาง กรุงเทพฯ-ชุมพร

          งานนี้บอกเลยว่า เราจะพาแฟน ๆ ร่วมเดินสำรวจทุกซอก ทุกมุม ตีแผ่ทั้งข้อดี ข้อเสีย ทุกแง่มุม อะไรดีเราชื่นชม อะไรที่ยังมีข้อให้ติเราก็ว่าไปตามจริง

          ว่าแล้วเราเริ่มเดินทางกันเลยดีกว่า

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

ยินดีที่จะได้รู้จัก

          ก่อนอื่นมาทำความรู้จักประวัติความเป็นมาของตู้รถไฟชุดใหม่ทั้ง 115 คัน ซึ่งสั่งมาจากบริษัท CRRC (China Railway Rolling Stock Corporation) หรือ CNR (China CNR Corporation Limited) นี้กันก่อน

          1. รถไฟฟ้ากำลัง จำนวน 9 คัน
          2. รถนอนปรับอากาศ ชั้น 2 จำนวน 79 คัน
          3. รถนอนปรับอากาศ ชั้น 2 สำหรับผู้พิการ จำนวน 9 คัน
          4. รถนอนปรับอากาศ ชั้น 1 จำนวน 9 คัน
          5. รถเสบียงปรับอากาศ จำนวน 9 คัน

          แต่อย่าคิดว่าจะได้มาง่าย ๆ กว่ารถชุดนี้จะได้รับการอนุมัติ การรถไฟฯ ต้องเจรจาต่อรองกับผู้บริหารประเทศมาไม่รู้กี่ชุดต่อกี่ชุด แถมพอได้รับการอนุมัติก็ไม่ใช่ว่า สั่งปุ๊บจะได้ของทันที

          ถามว่า ผู้ผลิตเขาไม่มีแบบสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้งานทันทีเลยหรือ
 
          ตอบได้เลยว่ามี แต่มันไม่ตรงตามสเปคความต้องการของผู้บริหารการรถไฟฯ ที่ต้องการสร้างประสบการณ์การเดินทางรูปแบบใหม่ที่เน้นความสะดวกสบาย ฉีกรูปแบบเดิม ๆ ด้วยแนวคิดเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สายเพื่อสอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนในยุคโซเชียลไปพร้อม ๆ กับการยกระดับความปลอดภัย

          ด้วยข้อเรียกร้องในเชิงเทคนิคและสิ่งอำนวยความสะดวกหลายประการ ตู้รถไฟล็อตใหม่นี้ใช้เวลาพัฒนาเกือบ 5 ปีเต็ม นับตั้งแต่มีคำสั่งซื้อเมื่อปี 2554

          และมีการส่งมอบเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในพิธีเปิดเดินขบวนรถโดยสารรุ่นใหม่เที่ยวปฐมฤกษ์ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครปฐม

Exclusive : สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้

          เรียกว่ารอกันเหงือก (เกือบแห้ง) แต่ก็คุ้มค่า

          เพราะจะว่าไปแล้ว ถ้าไม่รวมตู้รถไฟที่เราได้รับมาตามความร่วมมือระหว่าง JR West กับภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ญี่ปุ่นส่งให้หลายประเทศ) ตู้รถไฟใหม่ที่สุดของการรถไฟไทยต้องย้อนกลับไปถึงปี 2539-2540 สมัยนั้นใครได้นั่งรถนอนด่วนพิเศษนครพิงค์ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทีนี่แทบจะคุยไป 3 บ้าน 4 บ้าน

เซตชุดรถนอนทั้งขบวน ความสะดวกสบายสำหรับนักเดินทาง


          ร่ายประวัติความเป็นมากันเสียยืดยาว เดี๋ยวแฟน ๆ จะเบื่อกันเสียก่อน เราไปทำความรู้จักตู้รถไฟใหม่กันเลยแล้วกันว่า ในแต่ละขบวนมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

          อันดับแรก ที่จะขาดไม่ได้ คือ หัวรถจักร อันนี้นับว่าเป็นส่วนที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยังคงใช้หัวรถจักรเก่า แต่ทำการซ่อมบำรุงเปลี่ยนอะไหล่และพ่นสีใหม่เพื่อให้กลมกลืนไปกับตัวตู้ขบวนใหม่

         
ลองถามเลียบ ๆ เคียง ๆ เจ้าหน้าที่รถไฟว่า ทำไมไม่ใช้หัวรถจักร U-20 ใหม่ ที่สั่งมาจากจีนล่ะ เห็นในข่าวสั่งมาตั้ง 20 คัน

          ได้คำตอบมาว่า หัวรถจักรดังกล่าว การรถไฟนำไปใช้ลากรถไฟขนส่ง เนื่องจากเป็นหัวรถจักรขนาดหนักไม่เหมาะที่จะนำมาลากรถไฟโดยสาร

          ฟังแล้วก็คิดตามว่า อย่างนี้เราก็ยังคงต้องเสี่ยงดวงเหมือนเดิมใช่ไหม ตู้โดยสารใหม่แต่หัวรถจักรเก่าจะเสียเมื่อไหร่ก็ไม่รู้

          อย่างไรก็ตาม การรถไฟยืนยันกับทีมงานกระปุกดอทคอมว่า ถึงเป็นหัวรถจักรเก่าแต่ไส้ในเปลี่ยนอะไหล่ใหม่หมด อีกทั้งยังมีหัวจักรสำรองตามชุมทางต่าง ๆ อย่างเพียงพอ เรื่องที่จะเสียเวลา 5-6 ชั่วโมง เหมือนสมัยก่อนมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นน้อยมากจนถึงน้อยที่สุด

          ส่วนที่สอง ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ (ของรถไฟไทย) เลยทีเดียว เพราะแต่เดิมมาตู้นอนรถไฟไทยจะมีตู้ปั่นไฟแยกอิสระเฉพาะของตนเอง แต่สำหรับขบวนรถไฟชุดใหม่จะมีรถไฟฟ้ากำลังหรือตู้ปั่นไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมา 1 คันเพื่อผลิตไฟจ่ายให้แก่ตู้อื่น ๆ แทนระบบเดิม โดยจะมีเครื่องปั่นไฟจำนวน 2 เครื่องสลับกันทำงาน

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

          การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้มีเสียงรบกวนจากการเดินทางน้อยมาก เสียงรบกวนจะมีก็จะเป็นเพียงเสียงของรางเสียมากกว่า ทั้งยังลดมลพิษที่เกิดจากเครื่องปั่นไฟแต่ละตัวไปด้วยในขณะเดียวกัน

         
งานนี้ผู้โดยสารได้ไปเต็ม ๆ ทั้งนอนหลับสบายไร้เสียงรบกวน ทั้งไม่ต้องทนเหม็นกับกลิ่นควันรบกวน โดยตู้ปั่นไฟจะอยู่ติดกับหัวรถจักรในเที่ยวขาออกจากกรุงเทพฯ และจะเป็นตู้สุดท้ายในเที่ยวขากลับเข้ากรุงเทพฯ

          ถัดมาจะเป็นส่วนของขบวนรถนอน แบ่งเป็น รถนอนปรับอากาศ ชั้น 2 ขนาด 40 ที่นั่ง จำนวน 9 คัน รถนอนปรับอากาศ ชั้น 2 สำหรับผู้พิการ ขนาด 36 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน (มีลิฟต์ยกรถวีลแชร์) และรถนอนปรับอากาศชั้น 1 จำนวน 1 คัน รวมจำนวนผู้โดยสารเที่ยวละ 420 คน

          ส่วนนี้เองที่เป็นไฮไลท์ต่อไปที่เราจะพาแฟน ๆ ไปเจาะลึกกันว่า มีดีจริงสมราคา (คุย) ของการรถไฟฯ หรือเปล่า

          ส่วนสุดท้ายจะเป็นรถเสบียงปรับอากาศ จำนวน 1 คัน ซึ่งจะให้บริการแบบอาหารชุดอุ่นร้อน ซึ่งบอกได้เลยว่าเปลี่ยนไปจากตู้เสบียงโฉมเก่าจนเกือบจำไม่ได้

          กล่าวโดยสรุป รถไฟขบวนใหม่จะมีส่วนประกอบ 14 คัน (รวมหัวรถจักร) ทั้งนี้ตู้ใหม่ทั้ง 13 คันจะถูกแพ็กกันไปตลอด ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จะเปลี่ยนได้เฉพาะกรณีหัวรถจักรเท่านั้น

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!
แรกรักที่หัวลำโพง ความทันสมัยที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

          พูดคุยรายละเอียดต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่รถไฟกันไปพอสมควร ในที่สุดพระเอกของเราก็ค่อย ๆ ถอยเข้าชานชาลา

          ความรู้สึกแรกที่เห็น ไม่ว่าจะทรวดทรงองค์เอว รูปลักษณ์ภายนอก บอกเลยว่าแจ๋วกว่าที่คิด เรียกว่าถ้าเป็นตู้รถนอนก็ไม่น้อยหน้าใครในเอเชียแล้วกัน

          หลังจากรถจอดสนิท จอภาพแสดงข้อมูลขบวนรถด้านนอกเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตา 

          หน้าจอนี้จะแสดงข้อมูลทางการเดินรถ ข้อมูลหมายเลขตู้ เป็นแนวตั้ง แสดงครั้งละ 5 วินาที สลับภาษาไทย-อังกฤษ ซึ่งก็ให้ข้อมูลครบถ้วน ตลอดจนสามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด

          ความเปลี่ยนแปลงภายนอกอีกอย่างที่สังเกตเห็นก่อนขึ้นรถไฟ เราพบว่าลักษณะของบันไดเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ได้รับการยกระดับความสะดวกสบาย โดยจะเป็นบันไดไฟฟ้าอัตโนมัติปรับเปลี่ยนได้ 2 รูปแบบ คือ แบบบันได หรือแบบราบเรียบ

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

          แบบบันได จะมีทั้งหมด 4 ขั้น ดูทีแรกก็ไม่น่าจะมีปัญหาในการใช้งานอะไร ทว่าหลังจากที่เดินขึ้นเดินลงหลาย ๆ รอบแล้วพบว่า ขั้นที่ 1 และ 2 ค่อนข้างสั้นไปสักนิด เวลาเดินอาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่ผู้โดยสารอาจพลาดลื่นไถลตกลงมาได้

          ส่วนแบบราบเรียบ จะใช้ในกรณีที่ชานชาลาพื้นเสมอกับตัวรถ ผู้โดยสารสามารถเดินจากชานชาลาเข้าตัวรถได้เลย

          ต่อจากนั้นเราเดินเข้ามาในตัวรถ บรรยากาศโดยรวมมีความโปร่ง โล่ง สะอาดตาไปจากเดิม โดยเฉพาะสีสันภายในที่ผู้ผลิตให้โทนสีสว่าง ทำให้ผู้โดยสารรู้สึกว่าตัวรถมีขนาดใหญ่

          ประตูเลื่อนภายในรถใช้ระบบสัมผัส การตั้งค่าเปิด-ปิดประตู คิดว่าทำได้ดี ไม่เร็ว ไม่ช้าเกินไป และจะไม่มีการเลื่อนเปิดอัตโนมัติเองเหมือนตู้โดยสารรุ่นเก่า ทั้งนี้จะมีเซ็นเซอร์ข้างบนเพื่อป้องกันประตูหนีบผู้โดยสาร

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

ตู้นอนชั้น 1 ครบครันตามราคา เหมาะสำหรับผู้ต้องการความเป็นส่วนตัว

          ขึ้นรถกินน้ำ กินท่า ได้พักหนึ่ง รถค่อย ๆ แล่นออกจากสถานีหัวลำโพง เราไม่รอช้าขอให้เจ้าหน้าที่พาไปดูตู้โดยสารชั้น 1 กันแทบจะทันที 

          อย่างว่าล่ะครับ การรถไฟฯ อวดสรรพคุณไว้เยอะ

          ระหว่างทางขณะที่เดินผ่านตู้โดยสาร ชั้น 2 และตู้เสบียง เราสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง แต่จะเอาไว้เล่าให้ฟังทีหลัง

          จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าตู้โดยสาร ชั้น 1 มีทั้งหมด 24 ที่นั่ง แบ่งเป็นห้องส่วนตัวทั้งหมด 12 ห้อง และสามารถปรับห้องให้เชื่อมเข้าหากันได้ด้วย (พัก 2 ห้อง 4 ท่าน เป็นส่วนตัว)

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

          ใน 1 ห้อง จะมีเตียงบน-เตียงล่าง แต่หากต้องการความเป็นส่วนตัว สามารถซื้อแบบเหมาห้องได้ (นอนคนเดียวในห้อง)

          ทั้งนี้ตำแหน่งของตู้โดยสาร ชั้น 1 หากเป็นเที่ยวขาออกจากกรุงเทพฯ ก็จะได้เห็นวิวทางรถไฟท้ายขบวน แต่ถ้าเที่ยวขากลับเข้ากรุงเทพฯ ก็จะเห็นวิวหัวรถจักรแทน

          เท่าที่เห็นครั้งแรกลักษณะทางกายภาพภายนอกคล้ายของเดิม การจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ แทบไม่ต่างไปจากเดิม ห้องโดยสารจัดตามแนวขวางกับตู้นอน

          มีทางเดินขนานไปตามแนวยาวแต่จะไม่กว้างมากนัก เวลาเดินต้องระวังชนกับคนที่เดินสวนทางมา

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

          ที่จะเปลี่ยนไปจริง ๆ จะเป็นการเปลี่ยนประตูห้องเป็นแบบทึบ ซึ่งคนข้างนอกจะไม่สามารถมองไปในห้องพักได้เหมือนแต่ก่อน ส่วนการมองจากในห้องพักจะมีช่องตาแมวให้ดูข้างนอกได้ ตรงนี้นับว่าเป็นการเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่เดินทางคนเดียวเป็นอย่างมาก

          ภายใน เราสัมผัสได้ถึงความแตกต่างจากตู้นอนชั้นเดิมตั้งแต่แรกเห็น ตั้งแต่การให้สีสันของเบาะนั่งกำมะหยี่สีบานเย็นสบายตา สิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอ่างล้างหน้า ที่เก็บสัมภาระ ทั้งเตียงบน เตียงล่าง มีการวางตำแหน่งได้อย่างเหมาะเจาะ 

          ส่วนที่ถือว่าเป็นของใหม่แกะกล่องที่สุดสำหรับรถไฟไทย คือ หน้าจอ LED อัจฉริยะ ส่วนตัวสำหรับผู้โดยสารทั้งเตียงบนและเตียงล่าง

          จะดูหนัง ฟังเพลง สั่งอาหารออนไลน์จากตู้เสบียง ดูข้อมูลการเดินทาง ทุกอย่างทำได้หมดด้วยระบบสัมผัสเพียงปลายนิ้ว 

          นอกจากนั้นยังมีแผงควบคุมการทำงานของจอและช่อง USB เพื่ออำนวยความสะดวกเพิ่มเติมอยู่ตรงผนัง (ช่อง USB เสียบดูหนัง ฟังเพลงได้)

          เราเดินเข้า-ออก ดูโน่น ดูนี่ พักใหญ่ โดยเฉพาะการทดสอบ ลองเล่นจอ LED ฟังก์ชั่นต่าง ๆ พบว่าสามารถใช้งานได้สะดวก 

          เท่าที่ลองเล่นทุกฟังก์ชั่นดูแล้ว เรารับประกันได้ว่า แม้แต่ผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านไอทีก็น่าจะสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา เนื่องจากมีคำสั่งภาษาไทยเป็นค่าเริ่มต้นการทำงาน

          อีกส่วนที่ถือว่าอำนวยความสะดวกสำหรับคนในยุคโซเชียลเป็นอย่างมาก คือ การให้บริการปลั๊กไฟ 220 โวลต์ ทั้งเตียงบนและเตียงล่าง เรียกว่าหมดห่วงเรื่องแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือหมดตลอดการเดินทาง

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

ชั้น 2 ไม่น้อยหน้า ชั้น 1 บริการตามมาตรฐานสากล

          หลังจากที่สำรวจตู้โดยสาร ชั้น 1 เป็นที่เรียบร้อย เราเดินย้อนกลับมายังตู้โดยสาร ชั้น 2 ซึ่งเป็นชั้นที่ผู้โดยสารให้ความสนใจมากที่สุด เนื่องจากมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไปนักหากเทียบกับการเดินทางในรูปแบบอื่น

          มองเผิน ๆ เหมือนตู้โดยสาร ชั้น 2 ใหม่ จัดวางที่นั่ง  ที่นอน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ได้แตกต่างไปจากตู้โดยสารของเดิมมากนัก

          แต่ในรายละเอียดสิครับ บอกได้เลยว่าเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร

          อย่างแรกเบาะที่นั่งเปลี่ยนเป็นกำมะหยี่ด้าน สีแดงเลือดหมู พนักพิงตั้งตรง เรื่องขนาดอาจจะไม่กว้างขวางเท่าเบาะชั้น 1 แต่ก็ให้ความสบายอยู่พอสมควร 

          อย่างไรก็ตามในอนาคตหากใช้งานไปสักระยะอาจจะต้องเปลี่ยนเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดง่ายกว่านี้

          และหากสังเกตดี ๆ จะพบว่ามีอุปกรณ์มาตรฐานเพิ่มขึ้นมาอีก 2 รายการ ได้แก่ ปลั๊กไฟ 220 โวลต์ ในทุกที่นอน (ย้ำว่าไม่ใช่ทุกที่นั่ง) เพราะจะมีบางที่นั่งเท่านั้นที่มีปลั๊กไฟตอนปรับเป็นที่นั่งแล้ว

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

          อีกส่วน คือ ไฟสำหรับอ่านหนังสือ ซึ่งปรับได้ 3 ระดับ (ทดลองจริงปรับได้ 2 ระดับ) ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นที่ถูกใจนักอ่านหรือคนที่ชอบขีดเขียนอย่างแน่นอน

          ในส่วนของสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ ก็มีให้อย่างครบครันตามมาตรฐานสากลหรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ

          ไม่ว่าจะเป็นจอ LED แสดงข้อมูลและสถานะขบวนรถ (มีทั้งหมด 4 จอ แขวนอยู่บนเพดาน) หรือกล้องวงจรปิดตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ถูกบรรจุเข้ามาเพื่อยกระดับมาตรฐานตามนโยบายของการรถไฟฯ ทั้งสิ้น

          ฟังดูเหมือนมีแต่ข้อดีไม่มีข้อให้ติ

          ทว่าหลังจากที่ทดสอบดูอุปกรณ์หลาย ๆ อย่าง เราพบว่ายังมีจุดให้ติอยู่ และเมื่อมีการเปิดใช้งานจริงข้อบกพร่องเหล่านี้จะสร้างปัญหาแก่ผู้โดยสารอย่างแน่นอน

          โดยเฉพาะเรื่องของเตียงนอนที่มีขนาดสั้นและแคบกว่าตู้นอนของเดิม ซึ่งกระปุกดอทคอมได้ทดลองให้คนที่สูง 180 เซนติเมตร ปรับเตียงบนเพื่อลองนอนดู พบว่าปลายเท้าจะชนกับผนังที่กั้นระหว่างตู้พอดี 

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

          
หากจะนอนให้สบายผู้โดยสารต้องนอนเอียงเอาปลายเท้าออกมาด้านนอกระหว่างทางเดิน ตรงนี้คิดว่าผู้โดยสารคงไม่แฮปปี้เท่าใดนัก

          อีกส่วนหนึ่งแม้จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ก็คิดว่าจะสร้างความจุกจิกรำคาญไม่มากก็น้อย คือ เรื่องของโต๊ะทานอาหารระหว่างที่นั่ง ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบยาวถอดเก็บได้ แต่ของใหม่จะเป็นโต๊ะเล็กแบบพับ

          ที่ว่าเล็กนี่ เล็กและสั้นจริงๆ เพราะสามารถวางน้ำและกล่องอาหารได้เพียง 2 ชุดเท่านั้น

          นอกจากนี้ยังมีเรื่องของบันไดเตียงชั้นบนที่เป็นบันไดพับที่ดูแล้วใช้งานยากกว่าของเดิม ทั้งยังดูจะไม่ค่อยแข็งแรงมากนัก ตรงนี้คิดอายุการใช้งานไม่น่าจะคงทนเท่าไร

          ที่วางกระเป๋าสัมภาระชั้นล่างเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หายไปจากเดิม แต่ข้อดีคือทำให้ช่องทางเดินกว้างขึ้น ตรงนี้อาจจะเป็นเงื่อนไขตามคำสั่งซื้อของการรถไฟฯ ที่ต้องการให้มีทางเดินขนาดใหญ่เพื่อให้รถวีลแชร์สามารถแล่นผ่านได้โดยสะดวก

          ส่วนชั้นวางกระเป๋าเตียงบนมีการย้ายจากบริเวณบันไดทางขึ้น-ลง ไปติดไว้บนเพดานแทน ขนาดดูด้วยตาเปล่าคิดว่าน่าจะใช้งานได้ดีไม่มีปัญหา แต่ในความเป็นจริง ความสูงของช่องวางสัมภาระแคบมาก กระเป๋าเดินทางแบบลาก หรือแบ็คแพ็กใบใหญ่ ๆ ไม่ต้องเสียเวลาคิดว่าจะเอาขึ้นไปวางเลย

          บอกได้คำเดียว เรื่องนี้การรถไฟฯ โดนด่าเละแน่นอน 

          อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องนี้แล้ว ทางการรถไฟฯ จะเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาต่าง ๆ หลังการเปิดใช้งานจริงเพื่อนำมาสรุปและหาแนวทางแก้ไขในอนาคต

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

พื้นที่และบริการพิเศษสำหรับผู้พิการ ครั้งแรกของรถไฟไทย

          นอกจากความสะดวกสบายและความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ชุดรถไฟใหม่นี้ได้เพิ่มตู้นอน ชั้น 2 พิเศษสำหรับผู้พิการเข้ามาเพื่อยกมาตรฐานให้เทียบเท่าระดับสากล โดยปรับขนาดให้เหลือ 36 ที่นั่ง บรรยากาศโดยรวมเหมือนตู้นอน ชั้น 2 อื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป (ผู้โดยสารปกติสามารถจองได้)

          แต่ภายในจะมีการเพิ่มขนาดของทางเดินจาก 65 เซนติเมตร เป็น 78 เซนติเมตร และเป็นทางเดินเสมอระดับเชื่อมต่อกับตู้อื่นแบบไม่สะดุด รถเข็นวีลแชร์สามารถเคลื่อนผ่านได้สะดวกและปลอดภัย

สำหรับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมา ประกอบด้วย 

          1. ลิฟต์สำหรับยกวีลแชร์ ใช้งานได้ทั้งชานชาลาต่ำและชานชาลาสูง พร้อมที่เก็บวีลแชร์และวีลแชร์สำรอง

          2. ห้องสุขาขนาดใหญ่ ออกแบบตามหลัก Universal Design รถเข็นสามารถเข้าไปได้ พร้อมปุ่มขอความช่วยเหลือ 3 จุด โดยห้องน้ำสำหรับผู้พิการจะอยู่ด้านที่ติดกับตู้เสบียง

          3. พื้นที่รับประทานอาหารในตู้เสบียงสำหรับผู้ใช้รถวีลแชร์ บริเวณนี้จะออกแบบเป็นพื้นที่ลานว่างพร้อมโต๊ะวางอาหารแบบพับเก็บได้ แต่ตรงนี้อาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากโต๊ะมีขนาดสั้นและเล็กทำให้ใช้งานไม่ค่อยสะดวกนัก

          4. การเพิ่มอักษรเบรลล์ ตามปุ่มประตู ปุ่มขอความช่วยเหลือ และปุ่มสั่งการทำงานของระบบต่าง ๆ

          ทั้งนี้ในการทดสอบการเดินรถเที่ยวนี้ ได้มีการสาธิตการใช้งานระบบลิฟต์ยกรถวีลแชร์ แต่เท่าที่ดูแล้ว ไม่รู้จะด้วยความไม่ชำนาญการ หรือการตั้งค่าอุปกรณ์ที่ยังไม่ลงตัว การทดลองจึงออกมาไม่ค่อยราบรื่นมากนัก

          โดยเฉพาะช่องว่างระหว่างพื้นสถานีและลิฟต์ยกวีลแชร์ เมื่อเลื่อนลงไปจนสุดแล้วยังมีระยะห่างอยู่พอสมควร และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ ตรงนี้การรถไฟฯ คงต้องไปปรับการตั้งค่าระบบการทำงานของลิฟต์ยกวีลแชร์ในลำดับต่อไป

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

ปฏิรูปความปลอดภัยทั้งระบบ เพิ่มความมั่นใจในการเดินทาง

          ระบบความปลอดภัยเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ขบวนรถไฟชุดใหม่นี้เปลี่ยนแปลงไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรกแบบใหม่ กล้อง CCTV 24 ชั่วโมง หน้าจอ LED อัพเดทข้อมูลขบวนรถ ปุ่มเรียกพนักงานฉุกเฉิน ไฟฉุกเฉิน ถังดับเพลิง ทุกระบบความปลอดภัย มาแบบจัดเต็มไม่มีลดสเปค

          โดยเฉพาะระบบเบรกที่เปลี่ยนจากระบบดรัมเบรกเป็นระบบดิสก์เบรกแบบเดียวกับที่ใช้ในรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรือรถไฟฟ้า ตลอดจนระบบอัตโนมัติแจ้งเตือนการปิดประตูไม่สนิทก่อนขบวนรถออกสถานี

          เรื่องระบบเบรกถึงจะเป็นการทดลองนั่งในระยะสั้น ๆ แต่เราการันตีคุณภาพได้ เบรกนุ่ม เบรกอยู่ เบรกเงียบจริง ๆ
          สำหรับระบบกล้องวงจรปิด CCTV เพื่อสอดส่องความปลอดภัยจะมีติดอยู่ในทุกตู้โดยสาร และจะมีเจ้าหน้าที่สลับหมุนเวียนกันเฝ้าสังเกตในห้องควบคุมประจำขบวนตลอดการเดินทาง

          ในส่วนของปุ่มเรียกขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจะอยู่ใกล้กับประตูทางขึ้น-ลงทั้ง 2 ฝั่ง หรือในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น ห้องน้ำและในพื้นที่มุมอับ ที่เจ๋งไปกว่านั้น คือ ปุ่มเรียกขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือปุ่มเปิด-ปิดประตูต่าง ๆ จะมีอักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตากำกับอยู่ทุกปุ่ม

          นอกจากนี้ ยังมีระบบไฟสำรองไว้รองรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น กรณีไฟดับ ไฟฉุกเฉินที่ซ่อนอยู่จะให้แสงสว่างนำทางไปสู่ทางออกฉุกเฉิน ฟังแล้วหายห่วง

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สุขาระบบปิด ความเปลี่ยนแปลงเพื่อสุขอนามัย

          ห้องสุขาอีกส่วนหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ก็แหม ระบบเดิมทำชื่อ (เสีย) ไว้กับการรถไฟฯ ซะขนาดนั้น

          จะไม่ให้เป็นชื่อเสียงได้อย่างไรล่ะ ระบบห้องสุขาเดิมของรถไฟไทย พวกเล่นเป็นระบบเปิด ไม่ว่าจะถ่ายหนัก ถ่ายเบา ทุกอย่างถูกปล่อยลงสู่ทางรถไฟทันที

          ยิ่งตอนรถไฟจอดแวะตามสถานีด้วยยิ่งไม่ต้องพูดถึง ทั้งที่จริง ๆ แล้วก็มีคำเตือนว่าห้ามใช้ขณะรถจอดที่สถานี พี่ไทย น้องไทย ไม่สนอะไรทั้งนั้น 

          แต่ระบบห้องสุขาใหม่ที่มาพร้อมกับตู้รถไฟขบวนใหม่นี้ จะเป็นครั้งแรกของรถไฟไทยที่จะเป็นห้องสุขาระบบปิดแบบเดียวกับที่ใช้งานบนเครื่องบิน สิ่งปฏิกูลทุกอย่างจะไม่มีปล่อยเรี่ยราดตามทางอีกต่อไป ที่สำคัญ คือ สามารถใช้บริการได้แม้ว่าจะเป็นช่วงที่รถจอดที่สถานี

          การให้บริการห้องสุขา ชั้น 2 จะมีห้องสุขา จำนวน 2 ห้อง และห้องสำหรับปัสสาวะชาย จำนวน 1 ห้อง (มีอ่างล้างมือในห้อง) นอกจากนั้นจะมีอ่างล้างมือด้านนอกจำนวน 2 อ่างให้บริการควบคู่กันไป

          สำหรับตู้ชั้น 1 จะมีบริการห้องสุขา จำนวน 2 ห้อง และห้องสำหรับปัสสาวะชาย 1 ห้องเช่นกัน แต่จะไม่มีอ่างล้างมือข้างนอก เนื่องจากแต่ละห้องจะมีอ่างล้างมือในตัวอยู่แล้ว

          บริการน้ำอุ่นให้อาบน้ำฟรีบนขบวนรถไฮไลท์จุดขายของชั้น 1 ที่เพิ่มมาอีกอย่าง ฟังแล้วไม่อยากจะเชื่อนะครับ และมาแบบครบเซตสบู่ ยาสระผมพร้อม

          เรียกว่าตื่นเช้ามาอาบน้ำ ลงรถไปเที่ยวต่อแบบสวย ๆ หล่อ ๆ ได้ทันที

          แต่ก็มีข้อแม้การใช้งานอยู่เหมือนกัน คือ ต้องรีบตื่นมาอาบแต่ไก่โห่ เพราะว่าห้องอาบน้ำมีเพียงห้องเดียว ช่วงเช้า ๆ คงมีตบตีแย่งชิงกันอย่างแน่นอน

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!
 
สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

ตู้เสบียง อาหารเซตแบบใหม่ ยกระดับความสะอาด

          เดินทางด้วยรถไฟตู้นอน ถ้าไม่พูดถึงรถไฟตู้เสบียงก็คงไม่ครบอรรถรสในการเดินทาง โดยเฉพาะเมนูขึ้นชื่ออย่างข้าวผัดรถไฟที่ชื่อเสียงขจรไกลไปทั่วโลก

          ตู้เสบียงของขบวนรถไฟใหม่จะเป็นห้องปรับอากาศ บรรยากาศเรียบง่าย ตกแต่งคล้ายร้านอาหารยุคใหม่ที่เน้นความโล่งสบายตา ตกแต่งด้วยโทนสีครีม เขียว แยกสัดส่วนชัดเจนระหว่างพื้นที่นั่งรับประทานอาหาร เคาน์เตอร์ขายอาหาร และพื้นที่ทำครัวชัดเจน มีโต๊ะนั่งรับประทานอาหาร 32 ที่นั่ง และที่สำหรับวีลแชร์อีก 2 ที่

          ภายในห้องครัวเท่าที่สังเกตดูเน้นวัสดุสเตนเลสที่ทำความสะอาดง่าย มีระบบกำจัดควันเพื่อกำจัดกลิ่นรบกวนผู้ใช้บริการ ส่วนอาหารที่ให้บริการจะเป็นอาหารเซตแช่แข็งมาอุ่นร้อน ไม่มีการทำใหม่บนรถ

          เมนูต่าง ๆ มีทั้งของใหม่และของเดิมที่ขึ้นชื่อ ที่ลองชิมดูบางเมนูบอกได้เลยว่าไม่ผิดหวังจริง

          อย่างไรก็ตามมีบางส่วนบอกว่าเสียดายความคลาสสิกของอาหารรถไฟ ที่เมื่อเข้ามาตู้เสบียงแล้วต้องได้กลิ่นหอมและควันไฟของการประกอบอาหาร โดยเฉพาะเมนูข้าวผัดรถไฟอันเลื่องชื่อ ที่ต่อจากนี้จะไม่มีกลิ่นไหม้จากกระทะอันเป็นเอกลักษณ์อีกแล้ว

          บริการใหม่อีกส่วนที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ ตู้เสบียงของรถไฟขบวนใหม่จะมีการให้บริการ Wi-Fi อินเทอร์เน็ตฟรี จะทำงาน จะดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมออนไลน์ โพสต์รูปภาพ เช็กเฟซบุ๊กทำได้หมด ตรงนี้นับว่าตอบโจทย์คนยุคโซเชียลอย่างแท้จริง

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

ต่อยอดลูกค้ากลุ่มเดิม วิ่งเส้นทางท่องเที่ยวยอดฮิต

          คำถามยอดฮิตอีกหนึ่งคำถามที่ทีมพีอาร์การรถไฟฯ มักต้องตอบคำถามแฟน ๆ รถไฟไทยอยู่เป็นประจำ คือ รถขบวนใหม่ทั้ง 115 คันนี้จะวิ่งในเส้นทางไหนบ้าง เปิดใช้เมื่อไหร่ ราคาค่างวดเป็นอย่างไร

          ตอบง่าย ๆ ว่าจะเป็นการต่อยอดเพื่อบริการลูกค้ากลุ่มเดิม วิ่งตามเส้นทางท่องเที่ยวยอดฮิต 3 ภาค 4 เส้นทาง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสานเหนือ ภาคอีสานใต้ และภาคใต้ ประกอบด้วย

          
1. ขบวนรถด่วนพิเศษอุตราวิถี ที่ 9 และ 10 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ 
: วิ่งในเส้นทาง หัวลำโพง-สามเสน-บางซื่อ-บางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง-รังสิต-อยุธยา-ลำปาง-เชียงใหม่ 
              เปิดเดินรถในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 (เที่ยวไป) และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2559 (เที่ยวกลับ)

          
2. ขบวนรถด่วนพิเศษอีสานวัตนา ที่ 23 และ 24 กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี-กรุงเทพฯ
 : วิ่งในเส้นทาง หัวลำโพง-สามเสน-บางซื่อ-บางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง-รังสิต-อยุธยา-นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี 
              เปิดเดินรถในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 (เที่ยวไป) และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2559 (เที่ยวกลับ)

          3. ขบวนรถด่วนพิเศษอีสานมรรคา ที่ 25 และ 26 กรุงเทพฯ-หนองคาย-กรุงเทพฯ : วิ่งในเส้นทาง หัวลำโพง-สามเสน-บางซื่อ-บางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง-รังสิต-อยุธยา-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย 
              เปิดเดินรถในวันที่ 2 ธันวาคม 2559 (เที่ยวไป) และวันที่ 3 ธันวาคม 2559 (เที่ยวกลับ)

          4. ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ ที่ 31 และ 32 กรุงเทพฯ-ชุมทางหาดใหญ่-กรุงเทพฯ : วิ่งในเส้นทาง หัวลำโพง-สามเสน-บางซื่อ-บางบำหรุ-ศาลายา-นครปฐม-ราชบุรี-เพชรบุรี-หัวหิน-บางสะพานใหญ่-ชุมพร-สุราษฎร์ธานี-ชุมทางทุ่งสง-พัทลุง-ชุมทางหาดใหญ่ 
              เปิดเดินรถในวันที่ 2 ธันวาคม 2559 (เที่ยวไป) และวันที่ 3 ธันวาคม 2559 (เที่ยวกลับ)

          ทั้งนี้ผู้โดยสารที่ได้จองตั๋วโดยสารไว้ล่วงหน้าแล้ว และมีกำหนดเดินทางหลังจากขบวนรถใหม่เริ่มให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน และวันที่ 2 ธันวาคม 2559 นั้น ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารรุ่นใหม่ได้ทันที โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม

Exclusive : สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้

จองตั๋วตามขั้นตอนปกติ ใคร ๆ ก็ขึ้นได้

          สำหรับราคาค่าตั๋วช่วงแรก 3 เดือน เป็นราคาโปรโมชั่นเท่าเรตราคารถด่วนนอนปรับอากาศที่ให้บริการในปัจจุบัน หลังจากนั้นจะมีการปรับราคาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ปี 2560 

อัตราค่าโดยสารรถขบวนใหม่ทั้ง 4 เส้นทาง ประกอบด้วย


          1. เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ รถปรับอากาศนั่งและนอน ชั้น 1 เตียงบน 1,253 บาท เตียงล่าง 1,453 บาท/รถปรับอากาศนั่งและนอน ชั้น 2 เตียงบน 791 บาท เตียงล่าง 881 บาท

          2. เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี-กรุงเทพฯ รถปรับอากาศนั่งและนอน ชั้น 1 เตียงบน 1,120 บาท เตียงล่าง 1,320 บาท/รถปรับอากาศนั่งและนอน ชั้น 2 เตียงบน 731 บาท เตียงล่าง 821 บาท

          3. เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย-กรุงเทพฯ รถปรับอากาศนั่งและนอน ชั้น 1 เตียงบน 1,157 บาท เตียงล่าง 1,357 บาท/รถปรับอากาศนั่งและนอน ชั้น 2 เตียงบน 748 บาท เตียงล่าง 838 บาท

          4. เส้นทางกรุงเทพฯ-หาดใหญ่-กรุงเทพฯ รถปรับอากาศนั่งและนอน ชั้น 1 เตียงบน 1,394 บาท เตียงล่าง 1,594 บาท/รถปรับอากาศนั่งและนอน ชั้น 2 เตียงบน 855 บาท เตียงล่าง 945 บาท

ส่วนการจองตั๋วสามารถจองล่วงหน้าได้ 60 วัน ตาม 2 ช่องทางปกติ ได้แก่ 

          
1. สถานีรถไฟทั่วประเทศ (จ่ายเงินและรับตั๋วได้ทันที) 
          2. จองผ่าน Call Centers หมายเลข 1690 (นำรหัสตั๋วไปรับตั๋วได้ที่สถานีที่ใกล้ที่สุดไม่เกิน 22.00 น. ในวันถัดไป)

          อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่พีอาร์การรถไฟฯ แจ้งกับเราว่า ตั๋วถูกจองเต็มไปจนถึงเดือนมกราคมปี 2560 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

          สำหรับการจองตั๋วผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต การรถไฟฯ แจ้งว่าตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงพัฒนนาระบบใหม่อยู่ เนื่องจากระบบเดิมที่เคยใช้งานติดปัญหาขัดข้องทางกฎหมายกับผู้รับเหมาเดิม และคิดว่าอีกไม่นานจะสามารถเปิดให้ใช้งานได้ทั้งการจองตั๋วและการจ่ายเงินออนไลน์อย่างเต็มระบบ

         นักเดินทางที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.railway.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Call Centers 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง และทางเฟซบุ๊ก แฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย





สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!
 
สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!

สกู๊ปพิเศษ ทีมข่าวกระปุกพาเจาะลึกตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ !!!
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สกู๊ปพิเศษ กระปุกดอทคอม พาเจาะลึก ตู้นอนรถไฟโฉมใหม่ ทุกซอกมุม พร้อมเปิดใช้ 11 พ.ย.นี้ อัปเดตล่าสุด 8 พฤศจิกายน 2559 เวลา 17:59:07 71,444 อ่าน
TOP