มาถึงวันนี้ทุกคนคงรู้จัก "พลาสติก" อย่างฉันมากขึ้นแล้ว (I Am Plastic : ความในใจของน้องพลาสติก) และรู้ว่าฉันสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ สร้างประโยชน์ให้โลกใบนี้ได้อีกไม่น้อย (I Am Plastic : คำขอร้องจากน้องพลาสติก) แต่ถ้าทุกคนยังเมินเฉย ทิ้งขว้างกัน ฉันก็ยังหนีไม่พ้นที่จะถูกคนเข้าใจผิดว่าเป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งที่จริงแล้วฉันไม่ใช่ต้นตอทำลายสิ่งแวดล้อม แต่มนุษย์ผู้ขาดความรับผิดชอบต่างหากที่ทิ้งขว้างจนฉันกลายเป็นขยะ
- พลาสติกถูกผลิตเป็นจำนวนกว่า 311 ล้านตันต่อปี แต่ร้อยละ 70 ของพลาสติกเหล่านั้น มีจุดจบอยู่ตามที่ทิ้งขยะหรือแหล่งน้ำ (ที่มา)
- มีพลาสติกเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่ถูกรีไซเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ (ที่มา)
- ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตันถูกทิ้งลงทะเลทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยติดอันดับ 6 ของประเทศที่มีขยะไหลลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก ด้วยปริมาณกว่า 150,000-410,000 ตันต่อปี (ที่มา)
- องค์การยูเนสโกคาดว่าในแต่ละปีมีนกทะเลตายเพราะพลาสติกกว่า 1 ล้านตัว และยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลอีกกว่า 100,000 ชีวิต ที่ต้องสังเวยไปกับการกินเศษพลาสติก (ที่มา)
- มูลนิธิเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมเอลเลน แมคอาร์เธอร์ คาดว่าในปี ค.ศ. 2050 ขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั่วโลกจะมีมากกว่า 24 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าจำนวนปลาที่มีอยู่ (ที่มา)
มาติดตามไปด้วยกันว่า Circular Economy จะช่วยให้พลาสติกอย่างฉันมีชีวิตใหม่ที่สร้างคุณค่าต่อไปได้อย่างไรบ้าง
Circular Economy เทรนด์นี้ดีกว่าเดิม
แต่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่าง "Circular Economy" เกิดมาเพื่อปิดจุดบกพร่องของระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง เพราะเป็นการผลิตสินค้าที่ยึดหลักว่าต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
เริ่มจากการเลือกใช้ทรัพยากร (Resources) ที่ใช้แล้วทดแทนได้ เช่น การใช้พลังงานและวัสดุหมุนเวียน (Renewable Energy & Material) → การออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Make) → การนำผลิตภัณฑ์ไปใช้อย่างคุ้มค่า มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น (Use) → เมื่อใช้เสร็จแล้วนำกลับมาหมุนเวียนใหม่ หรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อใช้ประโยชน์ได้อีกเป็นวงจรไม่รู้จบ (Return) ซึ่งในขั้นตอน Return นั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้ซ้ำ (Reuse), การซ่อมแซม (Repair), การแปรรูปผลิตภัณฑ์ (Recycle) หรือการนำเศษวัสดุมาใส่ไอเดียใหม่ ๆ สร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงามพร้อมเพิ่มมูลค่าไปในตัว (Upcycle) ด้วยนะ
แบบไหน ถึงใช่ Circular Economy
การนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความทนทาน มีอายุการใช้งานนานขึ้น สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) ซ่อมแซม (Repair) ผลิตใหม่ (Recycle) รวมทั้งใส่ไอเดียแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มมูลค่าให้สินค้า (Upcycle) ทั้งหมดก็เพื่อลดการบริโภคทรัพยากรลง และช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติให้โลกใบนี้
การเลือกใช้ทรัพยากร (Resources) ที่ใช้แล้วทดแทนได้
- ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell System) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงงาน รวมทั้งใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับระบบกังหันน้ำบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเพียงเท่านี้ก็ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 2,708 กิกะจูลต่อปี และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 262 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีเลยทีเดียว
- ใช้หลัก 3Rs Water (Reduce, Reuse, Recycle) มาบริหารจัดการน้ำ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาช่วยหมุนเวียนน้ำที่ใช้แล้วให้กลับมาใช้ได้อีกอย่างคุ้มค่า รวมทั้งการเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืด
Make (การออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
USE (การนำผลิตภัณฑ์ไปใช้อย่างคุ้มค่า มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น)
* แก้วรักษ์โลก
เพราะแก้วพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี จึงเป็นที่มาของแก้วรักษ์โลก หรือ Bio Cup ที่ร้านคาเฟ่อเมซอนนำมาใช้ในหลาย ๆ สาขา ซึ่งผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (PBS) หรือแก้วพลาสติกใสชนิด PLA ที่ทำจากพืช ทุกใบสามารถย่อยสลายได้ 100% (โดยต้องผ่านกระบวนการที่เหมาะสม) เท่ากับช่วยลดขยะพลาสติกได้กว่า 200 ตันต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตและย่อยสลายได้มากถึง 67%
Return (การนำกลับมาหมุนเวียนใหม่ หรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อใช้ประโยชน์ได้อีกเป็นวงจรไม่รู้จบ)
ปลายทางสุดท้ายของ Circular Economy ก็คือ การใช้นวัตกรรมทำให้ขยะกลับมาหมุนเวียนใช้ได้ใหม่ เพื่อให้เหลือขยะน้อยที่สุด ซึ่งมี 2 โครงการของกลุ่ม ปตท. ที่ประยุกต์ใช้ Circular Economy ได้อย่างน่าสนใจ
* Upcycling Plastic Waste by GC
Upcycling Plastic Waste ก็คือการสร้างมูลค่าให้ขยะพลาสติกด้วยการนำนวัตกรรมมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ อย่างการนำขยะพลาสติกที่ทิ้งเกลื่อนกลาดตามแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย มาผลิตเป็นสินค้าแฟชั่น
* ร้านกาแฟรักษ์โลก (Café Amazon Circular Living Concept)
เปิดตัวเป็นครั้งแรกกับร้านกาแฟรักษ์โลก "คาเฟ่ อเมซอน เซอร์คูล่า ลิฟวิ่ง" สาขา พีทีที สเตชั่น สามย่าน ซึ่งมีความพิเศษตรงที่นำขยะจากร้านกาแฟอเมซอนมาแปลงร่างเป็นเฟอร์นิเจอร์และวัสดุตกแต่งภายในร้านกว่า 70% ได้แก่...
บอร์ดเมนูบนผนังตกแต่งหลังเคาน์เตอร์ ทำมาจาก
ถุงบรรจุเมล็ดกาแฟกว่า 7,200 ถุง
ผนังภาพนกแก้วมาคอว์ ทำมาจากแก้วกาแฟ
พลาสติกโพลีโพรพิลีน ของคาเฟ่อเมซอน กว่า 5,000 ใบ
PTTGC, Thaipbs, voicetv, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรีนพีซ, greenworld, gccircularlivingshop, Unesco, stopplasticpollution